ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Development of an Additional Course Entitled ‘The Carvings of Applied Bee-Castle Design’ Based on Constructionism Theory for Mathayom Suksa 6 Students
ผู้จัดทำ
ธานินทร์ โล่อุทัย รหัส 533JCe109 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร บุญใช้
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง การแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรในประเด็น (1) เปรียบเทียบความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ ของนักเรียนระหว่างหลังเรียนตามหลักสูตรกับก่อนเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) เปรียบเทียบทักษะการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ของนักเรียนหลังเรียนตามหลักสูตรกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (3) เปรียบเทียบความตระหนักถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนระหว่างหลังเรียนตามหลักสูตรกับก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2557 สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตร ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ แบบประเมินทักษะการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์ และแบบวัดความตระหนักถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีชนิดกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t–test) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบสำคัญ 11 ประการ คือ 1) ชื่อหลักสูตร 2) ที่มาและความสำคัญของหลักสูตร 3) หลักการของหลักสูตร 4) จุดมุ่งหมาย 5) สาระการเรียนรู้ 6) ผลการเรียนรู้ 7) คำอธิบายรายวิชา 8) โครงสร้างรายวิชา 9) แนวทางการจัดการเรียนรู้ 10) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 11) แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.52, S.D. = 0.66)

2. ผลการใช้หลักสูตร พบว่า

2.1 นักเรียนมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์หลังเรียนตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้

2.2 นักเรียนมีทักษะการแกะสลักลายปราสาทผึ้งประยุกต์หลังเรียนตามหลักสูตรผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกทักษะ

2.3 นักเรียนมีความตระหนักถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังเรียนตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

Abstract

The purposes of this research were to: 1) to develop an additional course curriculum entitled ‘The Carvings of Applied Bee-Castle Design’ based on the concept of constructionism theory through creating a piece of work for Mathayom Suksa 6 students, and 2) to investigate the results of experiment in using the curriculum on the following issues: (1) compare students’ knowledge of carvings of applied bee-castle design between after learning through the curriculum and before learning and compare it after learning with the set criterion, (2) compare students’ skill of carvings of applied bee-castle design after learning through the curriculum to the set criterion, (3) compare students’ awareness of culture and local wisdom between after learning through the curriculum and before learning. A sample was 40 Mathayom Suksa 6 students at Sakonrat Withayanukul School in academic year 2014 under the Office of Secondary Education Service Area 23, Sakon Nakhon province. The instruments used in experiment of using the curriculum were: a learning management plan, a test of knowledge about carvings of applied bee-castle design, a form for assessing skill of carvings of applied bee-castle design, and a form for measuring awareness of culture and local wisdom. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for dependent samples.

The results of this research revealed that:

1. The developed curriculum possessed 11 key components: 1) title of the curriculum, 2) background and significance of the curriculum 3) principles of the curriculum, 4) objectives, 5) learning substance, 6) learning outcome, 7) course description, 8) course structure, 9) learning management guidelines, 10) media and sources of learning, and 11) guidelines for measuring and evaluating learning and the results of evaluation. Appropriateness of the curriculum according to the experts was found at the highest level (X̅ = 4.52, S.D. = 0.66).

2. The results of implementing the curriculum showed as follows: 

2.1 Students had significantly higher knowledge of carvings of applied bee-castle design after learning through the curriculum than that before learning at the .01 level and passed the set criterion.

2.2 Students’ every skill of carvings of applied bee-castle design after learning through the curriculum passed the determined criterion.

2.3 Students had significantly higher awareness of culture and local wisdom after learning through the curriculum than that before learning at the .01 level.

คำสำคัญ
หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม, วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น, แนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 62.90 KB
2 ประกาศคุณูปการ 33.37 KB
3 บทคัดย่อ 56.46 KB
4 สารบัญ 73.99 KB
5 บทที่ 1 149.20 KB
6 บทที่ 2 17,035.01 KB
7 บทที่ 3 113.28 KB
8 บทที่ 4 224.31 KB
9 บทที่ 5 95.79 KB
10 บรรณานุกรม 130.51 KB
11 ภาคผนวก ก 3,543.06 KB
12 ภาคผนวก ข 160.17 KB
13 ภาคผนวก ค 1,179.04 KB
14 ภาคผนวก ง 4,178.61 KB
15 ภาคผนวก จ 17,065.89 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 35.90 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 ธันวาคม 2560 - 11:04:23
View 1537 ครั้ง


^