ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคภูพาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Developing the Teachers’ Potential in Producing Multimedia Learning Materialsat Phuphan Technological College under the Office of the Private Education Commission
ผู้จัดทำ
นพรัตน์ เจริญคร รหัส 543B46107 ระดับ ป.โท ภาคปกติ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพและปัญหาในการผลิตมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคภูพาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคภูพาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคภูพาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 19 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 95 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมิน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพ และปัญหาในการผลิตมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคภูพาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนปรากฏดังนี้

1.1 สภาพของการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ พบว่า ครูมีการจัดการสอนโดยใช้สื่อการสอนแบบเดิมๆ ไม่หลากหลาย ไม่มีความทันสมัย มีการนิเทศ ติดตามและส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ไม่ต่อเนื่อง นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่สนใจในการเรียนการสอนเท่าที่ควร

1.2 ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ พบว่า ครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ ไม่มีแกนนำครูให้ความช่วยเหลือในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ขาดความสนใจในการนำสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต ที่ทันสมัย น่าสนใจ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีภาระงานอื่นนอกเหนือจากการสอนมาก ผลสัมฤทธิ์นักเรียนไม่ดีเท่าที่ควร

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคภูพาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน วงรอบที่ 1 ใช้แนวทางพัฒนา 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 2) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศภายใน

3. การติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเทคนิคภูพาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ด้านความรู้ ความเข้าใจ ในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  14.32 จากคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 71.58 หลังจากได้รับการพัฒนา ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.79 คิดเป็นร้อยละ 98.95 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 97.89

ด้านการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ พบว่า วงรอบที่ 1 ผลการประเมินสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 วงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความสามารถในการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยผลการประเมินการผลิตสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate the conditions and problems of the teachers’ potential in producing multimedia learning materials at Phuphan Technological College, 2) find out guidelines for developing the teachers’ potentiality in producing multimedia learning materials, and 3) follow up the effects after  developing the teachers’ competence in producing multimedia learning materials.  An action research approach involved two spirals of planning, action, observation, and reflection. The target group consisted of 19 co-researchers, and 95 informants. Tools used were a set of questionnaires, a test, a form of interview, a form of observation, and a form of   assessment. Quantitative data were analyzed by mean, percentage, standard deviation, and Percentage of Progress. Content analysis in forms of content classification and descriptive analysis were used to analyze qualitative data.

The research findings were as follows:

1. The conditions and problems of the teachers’ competency in producing the multimedia learning materials of the teachers at Phuphan Technological College under the Office of the Private Education Commission revealed that:

1.1 In case of conditions, the teachers employed traditional and outdated instructional materials. The teachers also did not use a wide variety of teaching aids. The continuous supervision and supportive teaching process were not put into practice. The students were inattentive and lacked enthusiasm.

1.2 In terms of problems, the teachers had no knowledge and understanding in producing the multimedia learning materials. The leading teachers in producing the materials did not exist. The teachers were not interested in employing computer technology materials and the Internet in the classroom. In addition, they felt that they had had high workloads already. The students’ achievements were not at a satisfactory level.

2. The guidelines for developing the teachers’ potential in producing the multimedia learning materials in the first spiral were: 1) a workshop, and 2) internal supervision. In the second spiral, internal supervision was utilized.

3. The effects after the development of teachers’ potentiality in producing the multimedia learning materials were:

In case of knowledge and understanding in producing the multimedia learning materials, the post-intervention scores of the participating teachers increased about 97.89 percent (average scores of 19.79 out of 20 with 98.95 percent) comparing to the pre- intervention scores of 14.32 out of 20 (71.58 percent).

In case of the production of CAI materials, the results from the 8-aspect assessment of the multimedia learning materials in the first spiral revealed that the production of the multimedia learning materials were at the highest level with the mean of 4.56. In the second spiral, the participating teachers gained better competency in producing the multimedia learning materials. The results from the assessment of the multimedia learning material production, in all aspects, were at the highest level with the mean score of 4.67

คำสำคัญ
-
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 123.89 KB
2 ประกาศคุณูปการ 44.17 KB
3 บทคัดย่อ 85.74 KB
4 สารบัญ 88.83 KB
5 บทที่ 1 187.51 KB
6 บทที่ 2 1,051.18 KB
7 บทที่ 3 251.49 KB
8 บทที่ 4 667.77 KB
9 บทที่ 5 324.81 KB
10 บรรณานุกรม 164.19 KB
11 ภาคผนวก ก 449.85 KB
12 ภาคผนวก ข 77.38 KB
13 ภาคผนวก ค 385.09 KB
14 ภาคผนวก ง 937.62 KB
15 ภาคผนวก จ 2,790.62 KB
16 ภาคผนวก ฉ 16,422.31 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 78.66 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
25 เมษายน 2562 - 09:10:28
View 509 ครั้ง


^