สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอภาวะผู้นำทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2556-2565) โดยใช้การวิจัยอนาคต แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความต้องการของท้องถิ่น ที่มีต่อการกำหนดบทบาท ทิศทางการจัดการศึกษา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ประธานกรรมการสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การศึกษาภาวะผู้นำทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เป็นไปได้ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน ระยะที่ 3 การประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอภาวะผู้นำทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สู่นโยบายและแผนปฏิบัติ กลุ่มเป้าหมาย 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินการประชุมกลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ มัธยฐานพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า
ภาวะผู้นำทางการศึกษาของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย 12 ด้าน คือ
1. ด้านความเสมอภาคของโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีการจัดการให้ทุกคนมีสิทธิทางการศึกษา เช่น เด็กพิเศษ ทุพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส เด็กที่อยู่ห่างไกล ให้มีอาคารสถานที่ พร้อมการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนสอดคล้องกับ AEC
2. ด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย จัดให้มีหลักสูตร การคัดเลือกบุคลากร มีหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. ด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา จัดให้มีการพัฒนากับบริบทแวดล้อม เป้าหมายทิศทาง เพื่อมาตรฐานเท่าเทียม ASEAN
4. ด้านระบบบริหารและจัดการศึกษา จัดให้มีการยกฐานะของการศึกษา ให้มีการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีอิสระ และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
5. ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดให้มีการพัฒนาครูและเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านมาร่วม ให้มีการดูงานศึกษาต่อ แล้วคัดเลือกคนเก่ง คนที่มีจิตวิญญาณครูมาปฏิบัติหน้าที่
6. ด้านหลักสูตร จัดให้มีการจัดทำหลักสูตร อบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน และภาษาอังกฤษ จีน และหลักสูตรท้องถิ่นตลอดจนวิชาชีพ ตามความต้องการของท้องถิ่น
7. ด้านกระบวนการเรียนรู้ จัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย การฝึกทักษะคิดวิเคราะห์และเทคโนโลยี
8. ด้านทรัพยากรและการลงทุน จัดให้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม การระดมทรัพยากร จากภาครัฐและเอกชน
9. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จัดให้มีการตั้งศูนย์เทคโนโลยี เช่นห้องสมุดมีชีวิต ห้องเรียน ICT วิทยุโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
10. ด้านส่งเสริมกีฬานันทนาการและกิจกรรมเด็กเยาวชน จัดให้มีศูนย์นันทนาการและกีฬา การจัดการกีฬา-ท่องเที่ยว ดนตรีไทย-สากล
11. ด้านการส่งเสริมอาชีพ จัดให้มีหลักสูตรระยะสั้น เครือข่ายอาชีพชุมชน หลักสูตรคู่ขนาน หลักสูตรสามัญ
12. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ ให้มีกิจกรรมตลอดจนบูรณาการศาสนา ด้วยวัฒนธรรมจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ส่วนผลของการประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิ (Focus Group) พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยทั้ง 12 ด้าน
The purpose of this research was to propose educational leadership for chief executive of the Provincial Administrative Organization (PAO) in the next decade (B.E. 2556-2565) by using the methodology of Futures Research. The research was categorized into three phases: the first phase involved an exploration of concepts, theories, and local needs towards roles and trends in educational management with total 20 target participants comprising Chief Executives of the PAO, Bureau Directors of Education, chairs of school committee, school administrators, and five educational scholars. The second phase involved an examination from 20 scholars to address feasible educational leadership. The third phase utilized a focus group of ten scholars in order to propose educational leadership towards policy and performance plans. The research instruments comprised semi-structured interview, and a focus group assessment. The data were analyzed using median, and Interquartile Range. The content analysis was used for qualitative data.
The findings revealed that the educational leadership of Chief
Executive of the PAO involved 12 aspects, which were agreed among scholars participating in a focus group, as follows: 1) Equality of educational opportunity: Education management should cover education for all, for example, children with special needs, disabilities, disadvantaged children, and rural and remote area children. The provision of buildings and instructional management should be arranged in accordance with the ASEAN Economic Community; 2) Early childhood education management should comprise curriculum provision, personnel recruitment, organization in charge for sustainable development; 3) Education quality standards should suit environment, goals and directions, and be created equivalent education standards to ASEAN standards; 4) Educational administration and management should involve education-upgrade status, freedom for education management, and local identity; 5) Teachers and educational personnel should have opportunities to access professional development and specialists. The inclusion of study visits, opportunities for pursuing higher education level, and good recruiting process to select the brightest and spiritual teachers should be considered; 6) Curriculum should involve curriculum construction, seminars, workshops, study visits, English, and Chinese curriculum. In addition, local and professional curriculum should be provided based on local needs; 7) Learning process should include a provision of diverse learning processes, critical thinking and technology skills; 8) Resources and investment should involve additional budget allocation additionally, resource mobilization from public and private sectors; 9) Educational technology should involve technology center establishment, such as live library, Information and Communication Technology (ICT) classroom, television, and high-speed Internet access; 10) Promotion of sports and recreational activities for children and youth should involve the establishment of recreation and sport centers, sport management-tourism and Thai-international music activities; 11) Vocational and career promotion should involve short courses, local professional network, concurrent curriculum, and general studies curriculum; 12) Cultures, arts, religion and local wisdom should include the provision of learning center, integrated learning activities through traditional religions, local cultural practices, and local wisdom experiences.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 232.62 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 67.24 KB |
3 | สารบัญ | 181.60 KB |
4 | บทที่ 1 | 162.53 KB |
5 | บทที่ 2 | 941.05 KB |
6 | บทที่ 3 | 288.69 KB |
7 | บทที่ 4 | 1,077.29 KB |
8 | บทที่ 5 | 213.57 KB |
9 | บรรณานุกรม | 262.76 KB |
10 | ภาคผนวก ก | 96.69 KB |
11 | ภาคผนวก ข | 750.16 KB |
12 | ภาคผนวก ค | 1,084.12 KB |
13 | ภาคผนวก ง | 604.17 KB |
14 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 154.17 KB |