สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทาน และ 2) ศึกษาการกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทาน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีสวาท บ้านคำไฮ ตำบลหาดแพง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สังกัดเทศบาลตำบลหาดแพง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทาน 2) นิทานเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางด้านภาษาและการกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย 3) แบบทดสอบวัดความสามารถทางด้านภาษา และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการกล้าแสดงออก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที ชนิด (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถด้านภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. การกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การแสดงบทบาทสมมติประกอบการเล่านิทาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (X̅ = 2.77, S.D. = 0.43
The purposes of this study were 1) to compare the preschoolers’ language proficiencies earned before and after learning through providing experiences by using role play and storytelling, 2) to investigate preschoolers’ courage to act and assert themselves during undergoing the experiences provided from using role play and storytelling. The subjects were 20 preschoolers who attended Wat Srisawaat Child Development Center, Kham Hai Village, Haad Phaeng Sub-district, Si Songkram District, Nakhon Phanom Province. Purposively selected, these children enrolled in the second semester of 2016 academic year. The instruments comprised 1) the lesson plans constructed by using role play and storytelling, 2) stories which were believed to possess the power to enhance the preschoolers’ language proficiency and their courage to act and assert themselves, 3) the test to evaluate the children’s language proficiency, 4) the form to measure the children’s acting courage and assertive behaviors. The statistics used for data analysis included standard deviation, percentage, and t-test (Dependent Samples).
The study yielded these results:
1. After the preschoolers had received the experiences from doing role play and storytelling, their language proficiency was significantly higher than that of before at .01 statistical level.
2. The preschoolers’ acting courage and assertive behaviors after undergoing the developed experiences provided by using role play and storytelling were at the high level (X̅ = 2.77, S.D. = 0.43).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 60.68 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 242.32 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 30.11 KB |
4 | บทคัดย่อ | 52.60 KB |
5 | สารบัญ | 74.53 KB |
6 | บทที่ 1 | 95.39 KB |
7 | บทที่ 2 | 552.27 KB |
8 | บทที่ 3 | 177.94 KB |
9 | บทที่ 4 | 69.27 KB |
10 | บทที่ 5 | 86.54 KB |
11 | บรรณานุกรม | 93.10 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 105.83 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 1,019.10 KB |
14 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 30.36 KB |