สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความมีวินัยในตนเอง 3) เปรียบเทียบทักษะวิชาชีพ และ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบความมีวินัยในตนเองทักษะวิชาชีพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีความถนัดทางช่างแตกต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 กลุ่มที่ 2 สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 24 คน ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD 2) แบบวัดความมีวินัยในตนเอง 3) แบบทดสอบทักษะวิชาชีพ 4) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบทดสอบความถนัดทางช่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพ E1/E2 สถิติทดสอบค่าที (t–test Dependent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One–way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.95/81.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะวิชาชีพ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความมีวินัยในตนเอง ทักษะวิชาชีพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่มีความถนัดทางช่างแตกต่างกัน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกสมรรถนะที่เน้นทักษะปฏิบัติร่วมกับเทคนิค STAD แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีความถนัดทางช่างสูง มีความมีวินัยในตนเอง ทักษะวิชาชีพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่มีความถนัดทางช่างปานกลาง และต่ำ นักเรียนที่มีความถนัดทางช่างปานกลาง มีความมีวินัยในตนเอง ทักษะวิชาชีพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักเรียนที่มีความถนัดทางช่างต่ำ
The purposes of this study were 1) to develop the competency training package which focuses on professional skill and Student Team Achievement Division (STAD) technique to gain the efficiency criteria of 80/80, 2) to compare self-discipline, 3) to compare professional skills, 4) to compare the students’ learning achievements possessed before and after learning through the competency training package which focuses on professional skills and STAD technique, 5) to compare self-discipline, professional skill, and learning achievements among groups of students whose technical aptitudes differed (high, moderate and low) after they had learnt through the competency training package which focuses on professional skills and STAD technique. The samples were 24 first year students who were studying in first semester of 2016 academic year in Automotive Program, Sakon Nakhon Technical College under the Office of Vocational Education Commission. They were gained through simple random sampling. The instruments used comprised 1) the competency training package which focuses on professional skills and Student Team Achievement Division, 2) the form to measure the students’ self-discipline, 3) the test for examining the students’ professional skills, 4) achievement test, and 5) the test for assessing the students’ technical aptitude. Statistics employed for data analysis included mean, standard deviation, E1/E2, t-test (Dependent Samples) ANOVA, One-way MANCOVA, and One-way ANCOVA.
The study revealed the following results:
1. The competency training package which focuses on professional skills and Student Team Achievement Division (STAD) technique had its efficiency of 84.95/81.90 which was higher than the set criteria of 80/0.
2. After students had learnt through the competency training package which focuses on professional skills and Student Team Achievement Division (STAD) technique, their self-discipline was significantly higher than that of before at .05 statistical level.
3. After the students had learnt through the competency training package which focuses on professional skills and Student Team Achievement Division (STAD) technique, their professional skills were significantly higher than those of before at .05 statistical level.
4. After the student had learnt through the competency training package which focuses on professional skills and Student Team Achievement Division (STAD) technique, their learning achievement was significantly higher than that of before at .05 statistical level.
5. After the students whose technical aptitudes varied had learnt through the competency training package which focuses on professional skills and Student Team Achievement Division (STAD) technique, their self-discipline, professional skills, and learning achievement were significantly higher than those of before at .05 statistical level. The students whose technical aptitudes were high had their self-discipline, professional skills, and learning achievement higher than those of the students who had moderate and low technical aptitudes. The students whose technical aptitudes were moderate had their self-discipline, professional skills, and learning achievement higher than those of the students who had low technical aptitudes
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 124.16 KB |
2 | บทคัดย่อ | 105.62 KB |
3 | สารบัญ | 304.82 KB |
4 | บทที่ 1 | 321.14 KB |
5 | บทที่ 2 | 1,117.70 KB |
6 | บทที่ 3 | 672.91 KB |
7 | บทที่ 4 | 352.37 KB |
8 | บทที่ 5 | 333.64 KB |
9 | บรรณานุกรม | 309.02 KB |
10 | ภาคผนวก ก | 1,300.73 KB |
11 | ภาคผนวก ข | 2,664.12 KB |
12 | ภาคผนวก ค | 927.68 KB |
13 | ภาคผนวก ง | 426.33 KB |
14 | ภาคผนวก จ | 457.40 KB |
15 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 75.72 KB |