ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
The Development of Inclusive Education Model of Schools under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3
ผู้จัดทำ
สุทธิ สุวรรณจันทร์ รหัส 56421236124 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ดร. อภิสิทธิ์ สมศรีสุข, ดร. บุญมี ก่อบุญ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดย ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และสัมภาษณ์บุคลากรในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวม และตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหา ระยะที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาพิเศษ และครูสอนนักเรียนปกติ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 309 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.56-0.90 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน  1 กระบวนการ คือ 1) ด้านผลการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนพิการเรียนรวม 2) ด้านการบริหารจัดการเรียนรวม 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลและการประเมินผล 4) ด้านการดำเนินงานของศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ (Student Support Service : SSS) และ 5) กระบวนการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach: WSA)

2. ผลการตรวจสอบรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่า ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาพิเศษ และครูสอนนักเรียนปกติ มีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมโดยรวมของรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่พัฒนาขึ้น ในระดับมาก((X̅) = 3.93) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความเหมาะสมทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านผลการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนพิการเรียนรวม ((X̅) = 4.08)   2) ด้านการบริหารจัดการเรียนรวม ((X̅) = 3.96) 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนและการวัดผลและการประเมินผล (( x) ̅ = 3.94) 4) ด้านการดำเนินงานของศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ (Student Support Service : SSS) (( x) ̅ = 3.73) 5) กระบวนการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach: WSA) ((X̅) = 3.74)

Abstract

The objectives of this study were 1) to develop an inclusive education model of schools under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3 and 2) to examine the appropriateness of the developed model. The study was divided into 2 phases. The first phase was the model development by a study of principles, theories and relevant document and researches on inclusive education, as well as an interview with education personnel in schools which provide inclusive education. A content consistency check was also conducted in this phase. The second phase was the appropriateness examination of the developed model. The samples were 309 directors, teachers responsible for special education and teachers responsible for general education under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3. The sample size was determined by the application of Krejcie and Morgan's Table and the samples were selected through multi-stage random sampling. The tool employed in data collection was a 5-level rating scale questionnaire with IOC value between 0.60 - 1.00, discrimination power between 0.56 - 0.90 and overall reliability value at 0.98. Statistics implemented in data analysis were mean and standard deviation.

The study yielded the following results:

1. The developed inclusive education model of schools under the Sakon Nakhon Primary Education Service Area Office 3 comprised 4 aspects and 1 process, which were 1) the potential development results of handicapped students in inclusive classes; 2) the administration of inclusive classes; 3) instructional management, measurement and evaluation; 4) the operation of Student Support Service (SSS) and 5) whole school approach (WSA) development process.

2. The appropriateness examination result of the developed model found that the overall opinion of directors, teachers responsible for special education and teachers responsible for general classes towards the developed model was at a high level (X̅= 3.93). When considered in each aspect, it was found that each was appropriate for implementation, and could be prioritized from highest to lowest as follows: 1) the potential development results of handicapped students in inclusive classes (X̅=4.08); 2) the administration of inclusive classes (X̅=3.96); 3) instructional management, measurement and evaluation (X̅=3.94); 4) the operation of Student Support Service (SSS) (X̅=3.73) and 5) whole school approach (WSA) development process (X̅ = 3.74).

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 39.95 KB
2 ประกาศคุณูปการ 35.26 KB
3 บทคัดย่อ 64.10 KB
4 สารบัญ 55.99 KB
5 บทที่ 1 76.83 KB
6 บทที่ 2 389.19 KB
7 บทที่ 3 151.39 KB
8 บทที่ 4 101.50 KB
9 บทที่ 5 57.93 KB
10 บรรณานุกรม 81.43 KB
11 ภาคผนวก ก 26.19 KB
12 ภาคผนวก ข 5,078.27 KB
13 ภาคผนวก ค 79.35 KB
14 ภาคผนวก ง 91.83 KB
15 ประวัติย่อของผู้วิจัย 74.81 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 มกราคม 2561 - 12:47:25
View 2641 ครั้ง


^