สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การศึกษาเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ การป้องกันการตั้งครรภ์ระหว่างวัยรุ่นหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และไม่ได้ตั้งครรภ์ และ 3) เพื่อหาข้อเสนอเชิงนโยบายการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิงในจังหวัดนครพนม เก็บข้อมูล 5 เดือน ระหว่าง 15 เมษายน ถึง สิงหาคม 2561 ด้วยวิธีการแบบผสมผสานทั้งในเชิงปริมาณและคุณเชิงภาพ (Mixed method) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากวัยรุ่นหญิงในจังหวัดนครพนม จำนวน 3,253 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ การสนทนากลุ่ม จำนวน 24 ราย โดยสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอล และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จำนวน 9 ราย จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นปัญหา ข้อเสนอแนะและความต้องการของวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ จากภาคประชาชน ภาครัฐฯ ผู้มีส่วนร่วมและภาคีเครือข่ายของจังหวัดนครพนม จำนวน 20 คน
ผลจากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิง มี 3 ตัวแปร คือ 1) หญิงวัยรุ่นที่ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับพ่อแม่มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์มากกว่า 1.53 เท่า (95% CI 1.12-2.08) 2) วัยรุ่นหญิงที่มีทัศนะคติเชิงบวกในประเด็นการมีเพศสัมพันธ์และ การป้องกันการตั้งครรภ์ในระดับน้อย จะมีโอกาสในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากกว่า 1.33 เท่า (95% CI 1.08-1.64) 3) หญิงวัยรุ่นที่คิดว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีความรุนแรงในระดับน้อย มีโอกาสตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์มากกว่า 1.62 เท่า (95% CI 1.29-2.03) ความรู้ ทัศนคติและ การป้องกันการตั้งครรภ์ระหว่างวัยรุ่นหญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และไม่ได้ตั้งครรภ์ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความเห็นที่แตกต่างกันทั้งด้านโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์, ความรุนแรงของการตั้งครรภ์, อุปสรรคในการป้องกันการตั้งครรภ์ และ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ ยกเว้นประโยชน์จากการป้องกันการตั้งครรภ์ ข้อเสนอเชิงนโยบายในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิงมี 4 ประเด็น คือ 1) ประเด็นเพศศึกษา ควรมีนโยบายเกี่ยวกับการสอนหรือการให้ความรู้ด้านเพศศึกษาที่มีความหลากหลาย เนื้อหาเข้าใจง่าย ไม่มีอคติทางเพศ และการเรียนการสอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง 2) ประเด็นการป้องกัน ควรมีนโยบายให้ ครอบครัวจะต้องคอยดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ให้ความรักความอบอุ่น สอดส่องพฤติกรรม ประชาชนในชุมชน เจ้าของหอพัก และอาสาสมัครสาธารณสุข จะต้องคอยสอดส่องเด็กและไม่ให้มีแหล่งมั่วสุมในชุมชน ภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคลินิกวัยใสทุกแห่ง 3) ประเด็นการศึกษา ควรมีนโยบายระดับจังหวัด จัดตั้งโรงเรียนสำหรับวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ 4) ประเด็นการดูแลทางด้านสุขภาพและการประกอบอาชีพ ควรมีนโยบายให้ภาคีเครือข่ายช่วยกันพัฒนาระบบการส่งต่อวัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม มีการจัดพื้นที่ที่เป็นสัดส่วน ในโรงพยาบาลเพื่อให้วัยรุ่นหญิงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สามารถเข้าถึงการบริการและขอรับคำปรึกษาได้สะดวกโดยไม่รู้สึกเขินอาย หรือการถูกดูถูก
การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การอยู่กับผู้ปกครอง การดูแลเอาใจใส่ ความร่วมมือของชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นปัจจัยที่สำคัญในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในหญิงวัยรุ่น นโยบายที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ต้องเป็นนโยบายที่ครอบคลุมด้านการศึกษา การดูแลด้านสุขภาพ การให้ความรู้ทางเพศศึกษาที่เหมาะสมและตรงต่อความต้องการของหญิงวัยรุ่น
The purposes of this survey study were 1) to investigate the unwanted pregnancy factors, 2) to compare the knowledge and attitudes of the pregnant adolescents and the non-pregnant adolescents, 3) to obtain the proposals for policies on preventing unwanted pregnancy in Nakhon Phanom female adolescents. The data collection was carried out for a period of 5 months from April to August 2018. A mixed methods design was employed for the study. Systematically sampling, 3,253 female adolescents in Nakhon Phanom were selected to respond to the questionnaires to gain the information. Of these samples, 24 girls who were chosen through snowball sampling had undergone group conversations. Nine adolescents who had unwanted pregnancy were engaged to the in-depth interviews. The platform for sharing knowledge, problems, ideas, suggestions, and needs concerning adolescence pregnancy was set up for discussions among twenty government, non-government sectors, stakeholders and networks in Nakhon Phanom.
The study revealed three factors of unwanted adolescence pregnancy. 1) Adolescents who did not stay with parents were at 1.53 higher opportunity or risk to be pregnant undesirably than those who stayed with their parents (95% Cl 1.12-2.08). 2) Female adolescents whose positive attitudes towards sexual relations and pregnancy prevention at the low levels were at 1.33 higher opportunity or risk of being pregnant undesirably than those whose positive attitudes towards sexual relations and pregnancy prevention were at the high levels (95% Cl 1.08-1.64). 3) Female adolescents who thought that adolescence pregnancy was not severe or severe at the low levels were at 1.62 higher opportunity or risk of being pregnant undesirably than those who thought that adolescence pregnancy was severe (95% Cl 1.29-2.03). For those female adolescents who used to have sexual relations, comparing between the ones who had unwanted pregnancy and those who were not pregnant, it was found that their opinions on the opportunity of being pregnant, pregnancy severity, impediments of pregnancy prevention, and attitudes towards sexual relations, and pregnancy prevention were different between these two groups, except for their opinions on the benefits of pregnancy prevention. There were four proposals for policies on preventing unwanted pregnancy in female adolescents. 1) Regarding sex education, it was proposed that diverse policies on teaching or providing knowledge of sex education should be issued. The contents should be easy to understand while gender bias/prejudice should not be included. The teaching/learning should be practical. 2) About preventive policies, it was proposed that the family or parents should take care of their children closely. The feelings of love, warmth, care should be attained by the adolescents. The adolescents’ behaviors should be attended or watched by the people in the community, landlords/landladies, health care volunteers so that these adolescents could not misbehave or indulge themselves in the community. Teen Clinics should be widely established by the government sectors. 3) Of education, it was suggested that there should be the provincial policy on founding the school to admit pregnant adolescents to study. 4) Regarding health care and occupation, it was proposed that there should be policies on developing the system of transferring the adolescents who had unwanted pregnancy by the network. It was recommended also that specific area/lounge must be provided in the hospitals so that adolescents with unwanted pregnancy could comfortably and conveniently access to receive the services and consultation without feeling embarrassed or offended.
The study unveiled that living with parents; love and warmth in the family; community, government and non-government sectors’ co-operations were the important factors in preventing unwanted adolescence pregnancy. The policies proposed for preventing the problems should cover education and health care. Sex education should be appropriate and able to fulfill the needs of the female adolescents.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 157.08 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 352.39 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 42.53 KB |
4 | บทคัดย่อ | 99.11 KB |
5 | สารบัญ | 98.20 KB |
6 | บทที่ 1 | 229.96 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,003.62 KB |
8 | บทที่ 3 | 518.17 KB |
9 | บทที่ 4 | 536.34 KB |
10 | บทที่ 5 | 267.36 KB |
11 | บทที่ 6 | 425.85 KB |
12 | บทที่ 7 | 172.60 KB |
13 | บรรณานุกรม | 384.35 KB |
14 | ภาคผนวก ก | 114.37 KB |
15 | ภาคผนวก ข | 288.51 KB |
16 | ภาคผนวก ค | 189.21 KB |
17 | ภาคผนวก ง | 84.41 KB |
18 | ภาคผนวก จ | 107.61 KB |
19 | ภาคผนวก ฉ | 672.86 KB |
20 | ภาคผนวก ช | 2,441.84 KB |
21 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 87.80 KB |