ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดนาขาม (เชิดชูวิทยาสาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
The Development of Public Mind of Students at Ban Kud Na Kham (Chertchoo Wittayasan) School under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2
ผู้จัดทำ
เจษฎาภรณ์ อุ่นเรือน รหัส 57421229105 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.ชรินดา พิมพบุตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีจิตสาธารณะของนักเรียน 2) หาแนวทางพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียน 3) ติดตามผลการพัฒนาพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดนาขาม(เชิดชูวิทยาสาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2  ตามขอบข่ายการมีจิตสาธารณะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กำหนด  ประกอบด้วย ตัวชี้วัดที่ 1 ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน และตัวชี้วัดที่ 2 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชน และสังคม  โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ  กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 9 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 46 คน และกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านกุดนาขาม(เชิดชูวิทยาสาร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 149 คน  เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึก และแบบประเมินพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า  การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดนาขาม(เชิดชูวิทยาสาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีดังนี้

1.1 สภาพ พบว่า นักเรียนไม่เต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ค่อยอาสาในการทำงาน เวลาทำงานช่วยเหลือบุคคลอื่นก็หวังสิ่งตอบแทน ไม่เต็มใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนของตนเองหรือชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่

1.2 ปัญหา พบว่า นักเรียนขาดความตระหนักในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ขาดการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม

2. แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดนาขาม(เชิดชูวิทยาสาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2  ใช้แนวทางในการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน 2 วงรอบ ดำเนินการ 3 แนวทาง ได้แก่ 1) ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการมีจิตสาธารณะของนักเรียน 2) จัดกิจกรรมพัฒนาสาธารณะของนักเรียน ประกอบด้วย 2.1) กิจกรรมเชิดชูคนดีหน้าเสาธง 2.2) กิจกรรมบันทึกความดีประจำวัน 2.3) กิจกรรมรณรงค์รักษาความสะอาด 2.4) กิจกรรมเข้าค่ายฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ 2.5) การเข้ารับการอบรมคุณธรรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ และ 2.6) กิจกรรมคนดีศรีบ้านกุดนาขาม 3) การนิเทศภายใน

3. ติดตามและประเมินผลการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียนโรงเรียนบ้านกุดนาขาม(เชิดชูวิทยาสาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน การสัมภาษณ์ผู้ร่วมวิจัยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการประเมินพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียน

3.1 ผลการประเมินพฤติกรมจิตสาธารณะของนักเรียนโดยครู ก่อนการพัฒนา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับ น้อย (X̅=2.46) หลังการพัฒนา อยู่ในระดับ มาก (X̅=3.80) และวงรอบที่ 2 การพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (X̅=4.76) โดยมีร้อยละความก้าวหน้า เฉลี่ย 80.86

3.2 ผลการประเมินพฤติกรรมจิตสาธารณะนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน ก่อนการพัฒนา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ปานกลาง (X̅=2.93) หลังการพัฒนาอยู่ในระดับ มาก (X̅=3.87) และวงรอบที่ 2 การพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (X̅=4.70) โดยมีร้อยละความก้าวหน้า เฉลี่ย 74.55

Abstract

The purposes of this study were 1) to investigate the current states and problems concerning students’ public mind, 2) to establish the guidelines for developing students’ public mind, and 3) to monitor and evaluate the public mind behaviors of the students at Ban Kud Na Kham School (Chertchoo Wittayasan) under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2 based on the scope of the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551, which consists of: the first indicator - helping others voluntarily, and the second indicator- participating in school activities, communities and society. This study employed Participatory Action research employed comprising four phases: planning, action, observation, and reflection. The target group for the operational research consisted of nine co-researchers and 46 informants. The target group for public mind development was 149 students from Prathomsuksa 1 to Mathayomsuksa 3.  Instruments used were a form of interview, a form of observation, written records, and a form of behavior evaluation. Mean, percentage, standard deviation, and percentage of progress were employed for the analysis of quantitative data. Content Analysis was analyzed and classified to be presented in forms of descriptive analysis. 

The findings of this study were as follows:

1. The current states and problems on students’ public mind revealed that:

1.1 In terms of current states, the students were not willing to help others, and tended not to participate in school volunteering activities. They were more likely to help others with expectation of personal gain. The students also expressed their unwillingness to join activities that would benefit school or individual community. 1.2 In terms of problems, lacking awareness of responsibilities on assigned tasks of students was identified. The activities for inculcating morality and ethics for students were limited.

2. The guidelines for the development of students’ public mind involved two spirals of three means: 1) A Best practice visit, 2) School activities on students’ public mind development including-2.1) Student recognition of good characteristics during morning assembly, 2.2) Written records on daily good deeds, 2.3) Cleanliness maintenance campaign, 2.4) Training camp on morality and ethical development, 2.5 Morality development program, and 2.6) Recognition of being good student of Ban Kud Na Kham, and 3) Internal supervision.

3. The behaviors of students’ public mind were evaluated, through co-researchers’ and stakeholders’ observation and interviews, revealed that:

3.1 The pre-intervention mean scores of students’ behaviors of public mind, as a whole, were at a low level (X̅=2.46), compared to the post-intervention mean scores at a high level (X̅=3.80). After the second spiral, the students’ behaviors of public mind, as a whole, were at the highest level ( X̅=4.76) with the percentage of progress at 80.86.

3.2 The parents’ observation resulted that the pre-intervention mean scores of the students’ public mind, as a whole, were at a moderate level (X̅=2.93), compared to the post-intervention mean scores at a high level (X̅=3.87). After the second spiral, the students’ public mind, as a whole, were at the highest level (X̅=4.70) with the percentage of progress at 74.55.

คำสำคัญ
การพัฒนา, จิตสาธารณะ
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 103.59 KB
2 ประกาศคุณูปการ 30.26 KB
3 บทคัดย่อ 64.68 KB
4 สารบัญ 109.60 KB
5 บทที่ 1 130.38 KB
6 บทที่ 2 325.44 KB
7 บทที่ 3 136.76 KB
8 บทที่ 4 430.97 KB
9 บทที่ 5 125.47 KB
10 บรรณานุกรม 67.24 KB
11 ภาคผนวก ก 4,201.03 KB
12 ภาคผนวก ข 288.37 KB
13 ภาคผนวก ค 45.99 KB
14 ภาคผนวก ง 64.52 KB
15 ภาคผนวก จ 445.32 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 35.97 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 มกราคม 2561 - 13:43:37
View 409 ครั้ง


^