สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) พัฒนาการตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านลาดห้อ เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนบ้านลาดห้อที่มีความสัมพันธ์กับป่าชมใช้ 2) พัฒนาการและผลกระทบของป่าชมใช้บริเวณบ้านลาดห้อ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และ 3) แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชมใช้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านลาดห้อ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบไปด้วย บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน แกนนำ ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนบ้านลาดห้อ ซึ่งใช้การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. พัฒนาการตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้านลาดห้อ เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนบ้านลาดห้อ ที่มีความสัมพันธ์กับป่าชมใช้เป็นไปอย่างเรียบง่าย ชุมชนบ้านลาดห้อมีวิถีชีวิตการดำรงชีวิตประจำวันด้วยการพึ่งพาป่า การใช้ภูมิปัญญา ความคิด ความเชื่อที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษในการอยู่อาศัย และอนุรักษ์ป่าไม้ในชุมชนเพื่อให้ป่ายังคงมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรป่าและอาหารทั้งที่เป็นพืช และสัตว์ โดยนำความเชื่อเรื่อง “ผี” บรรพบุรุษซึ่งทำหน้าที่ปกปักรักษา “ป่ามะเหศักดิ์” และ “ป่าช้า” มาเป็นกลไกสำคัญและกำหนดเป็นกฎระเบียบ หรือ “คะลำ” ของการอยู่ร่วมกันของคนและป่า การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมระดับหมู่บ้านและการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออก การเคารพสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรป่าไม้ด้วยจารีตประเพณีการนับถือ “ผี” ของหมู่บ้าน ซึ่งนำไปสู่ การสอดส่องดูแล รักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกันของคนในชุมชน
2. พัฒนาการและผลกระทบของป่าชมใช้บริเวณบ้านลาดห้อ เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการบริหารงานภาครัฐที่ส่งผลกระทบต่อการลดลงของทรัพยากรป่าไม้ด้วยการเปิดให้มีการสัมปทานป่าไม้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้งบประมาณในการฟื้นฟูและพัฒนาบ้านเมืองภายในหลังสงครามอินโดจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่หมู่บ้านลาดห้อมีโรงเลื่อยไม้ชื่อว่า “โรงงานปรุงแต่งไม้ลาดห้อ” อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ป่าไม้หมดไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงชาวบ้านขาดการมีส่วนร่วมและขาดจิตสำนึกต่อทรัพยากรป่าไม้ทำมีการลักลอบตัดไม้เพื่อขายให้พ่อค้าคนกลางในพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลกลางได้ตระหนักถึงความเสียหายอันใหญ่หลวง จึงได้ทำการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ในเวลาต่อมา จากนั้นจึงได้กำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพที่ถาวรให้แก่ชาวบ้านเพื่อลดสถานการณ์การถากถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยไปเป็นอาชีพการปลูกพืชเศรษฐกิจป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และกำหนดให้ สปป.ลาว มีป่าไม้ปกคลุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)
3. แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชมใช้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านลาดห้อ เมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยในระดับรัฐบาลกลางได้กำหนดให้มีกฎหมายอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูป่าหลายฉบับ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ระดับแขวงและระดับเมืองได้มีการนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ทั้งในรูปแบบของการส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ การอนุรักษ์ การฟื้นฟูด้วยการปล่อยไว้ตามธรรมชาติเพื่อให้ป่าฟื้นฟูตัวเอง ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐระดับเมืองได้ส่งเสริมอาชีพถาวรร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อให้ประชาชน มีความมั่นคงในเรื่องรายได้เพื่อจะลดปัญหาการถากถางป่าในการทำเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีการแบ่งดินแบ่งป่าเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการกำหนดกฎ ระเบียบของหมู่บ้านว่าด้วยเรื่องป่าและการเข้าถึงทรัพยากรป่า ส่งผลให้หมู่บ้านลาดห้อมีกฎระเบียบ การบริหารการปกครองบ้านลาดห้อ ขึ้นเพื่อใช้เป็นระเบียบปฏิบัติของประชาชนทั่วไป และเป็นตัวอย่างสำหรับงานพัฒนาของหมู่บ้านอื่นในอนาคต
The purposes of this research were 1) to investigate the settlement of Ladhor Village, Xepon District, Savannakhet Province, Lao PDR as well as to study the correlation between the way of life of Ban Ladhor villagers and Pa Chom Chai (non-legitimized community forest), 2) to examine Pa Chom Chai’s development and effects from the past to the present, 3) to obtain guidelines on the community participation in conserving and restoring Pa Chom Chai of Ban Ladhor. The study employed qualitative research design. Key informants incorporated the officers and staff of government, non-government/private sectors, leading activists/chiefs, community wise men, and villagers. These people underwent group discussion and in-depth interviews so as to gain the information collected for an analysis. Then, the results were presented in descriptive form.
The study unveiled these results:
1. The settlement of Ladhor Village, Xepon District, Savannakhet Province, Lao PDR and the way of life of Ban Ladhor villagers and Pa Chom Chai had developed in a simple style. Each day, the living of villagers in the community of Ban Ladhor was dependent on their community forest, Pa Chom Chai. The wisdom, ideas, and beliefs of conserving the community forest to maintain its rich natural resources such as food productivity from both plants and animals. These villagers believed that the spirits or ghosts of their deceased ancestors had protected Pa Mahesak (forest of the city rulers) and Pa Cha (graveyard). Consequently, this imaginative notion was used as a significant device to set either the rules or Kalum (breaking the rules) to enable human beings and the forest to live together. These established rules also included how the people at the village level would dwell in the society; how the villagers’ assertiveness and behavior would be expressed, conducted and controlled; how rights to access into the forest resources would be endowed and respected according to the animist traditions, custom, and belief in ancestral ghosts of the villages. Such faith of the believers made the community inhabitants collaboratively keep the resources in the forest under their surveillance, protection, and conservation.
2. Regarding the development and effects of Pa Chom Chai from the past to the present, it was found that there were changes of administration policy from the government sectors and these changes caused the forest resources to decrease. As a result from the changes of the government policy, the forest concessions which were intended to gain the budget to be spent on restoring the country because of the aftermaths and damages of the Indochina War were licensed to investors. At Ban Ladhor in particular, the sawmill called “Roang-ngan Prung Tang Mai Ban Ladhor ” (Ban Ladhor Sawmill) was founded. Consequently, the trees were cut abundantly and massive deforestation ensued. Far worse, the villagers did not take part to help take care of and conserve the forest resources. They lacked an awareness of conserving the forest resources. Without their conservation consciousness, deforesting continued because the villagers cut more trees to sell to the middlemen. Thus, the forest was destroyed and disappeared rapidly. However, the government recognized this destruction so the forest concessions were cancelled. Then, job creation and employment were promoted to prevent and reduce tree cutting and bush removing for single-crop farming. The villagers were encouraged to grow cash crops for industrial factories instead. The government has planned that within 2020, 70% of the whole area of Lao PDR will be covered by the forests.
3. These guidelines were given for the community participation in conserving and restoring Pa Chom Chai of Ban Ladhor, Xepon District, Savannakhet Province, Lao PDR. The federal government should enact the national laws to conserve, protect, and restore the forests in the whole areas of the country. At the scales of the provinces (Kwaeng) and the cities (Muang), the government policies must be brought into practice and action in the forms of the promotion of commercial forest planting as well as the conservation and restoration of the forests by allowing the deforested areas to grow and restore themselves naturally. At the same time, the government sectors at the city level, with co-operations from the international organizations, should help and support the villagers to have their permanent careers so that these villagers can have stable incomes and they will not invade the forests to cut trees or mow the grass or bushes to farm. In addition, the lands and forests have been allocated to the villagers in order to make them participate in the conservation and restoration of the forests. Besides, rules and regulations of accessing into the forests and their resources have been established. Subsequently, Ban Ladhor has been governed by these agreements prompting the people of Ban Ladhor to comply with these administration rules and regulations. Hence, Ban Ladhor has become the model for developing other villages in the future.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 109.44 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 384.91 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 60.19 KB |
4 | บทคัดย่อ | 156.42 KB |
5 | สารบัญ | 172.02 KB |
6 | บทที่ 1 | 1,118.03 KB |
7 | บทที่ 2 | 3,423.40 KB |
8 | บทที่ 3 | 1,720.63 KB |
9 | บทที่ 4 | 511.79 KB |
10 | บทที่ 5 | 674.48 KB |
11 | บรรณานุกรม | 364.47 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 192.90 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 437.87 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 469.42 KB |
15 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 85.55 KB |