ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก เรื่องการสังเคราะห์ ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Development of Critical Thinking Ability Using Inquiry Method and Graphic Organizers Entitled “Photosynthesis” for Mathayom Suksa 5 Students
ผู้จัดทำ
จุฑามาส ทวีบุตร รหัส 58421238102 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การสอนวิทยาศาสตร์
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ อนันต์ ปานศุภวัชร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ วงษ์ชาลี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับผังกราฟิก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนดอนตาลวิทยา อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 35 คน มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.21/79.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับผังกราฟิก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to develop the learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers to contain the efficiency of 75/75, 2) to compare the students’ critical thinking ability gained before and after they had learnt through the learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers, 3) to compare the students’ learning achievements obtained before and after they had learnt through the learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers, 4) to explore the students’ satisfaction of learning through the learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers. The subjects were 35 Mathayom Suksa 5 students who were studying in the second semester of 2016 academic year at Don Tan Wittaya School, Don Ton District, Mukdahan Province. They were obtained by cluster random sampling. The instruments used included lesson plans, the test to assess the students’ critical thinking ability, an achievement test, and a questionnaire to explore the students’ satisfaction. The statistics employed for data analysis were mean, standard deviation, t-test (Dependent samples).

The study revealed these results:

1. The learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers contained its efficiency of 79.21/79.96 which was higher than the set criteria of 75/75.

2. After the students had learnt through the learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers, their critical thinking ability was significantly higher than that of before at .01 statistical level.

3. After the students had learnt through the learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers, their critical learning achievement was significantly higher than that of before at .01 statistical level.

4. The students’ satisfaction of learning through the learning management using an Inquiry Method and Graphic Organizers was, on the average, at 4.67. It was considered at the highest level.

คำสำคัญ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ผังกราฟิก, ความสามารถในการการคิดวิเคราะห์, ความพึงพอใจ
Keywords
Learning management using an Inquiry Method, Graphic Organizers, critical thinking ability, satisfaction
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 98.99 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 555.89 KB
3 ประกาศคุณูปการ 71.68 KB
4 บทคัดย่อ 124.03 KB
5 สารบัญ 206.41 KB
6 บทที่ 1 290.45 KB
7 บทที่ 2 827.45 KB
8 บทที่ 3 749.60 KB
9 บทที่ 4 973.01 KB
10 บทที่ 5 386.83 KB
11 บรรณานุกรม 255.59 KB
12 ภาคผนวก ก 1,221.74 KB
13 ภาคผนวก ข 498.96 KB
14 ภาคผนวก ค 535.89 KB
15 ภาคผนวก ง 545.73 KB
16 ภาคผนวก จ 852.42 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 85.01 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 เมษายน 2562 - 10:17:19
View 1160 ครั้ง


^