สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองใสพรเจริญวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 2) หาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) ติดตามผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิด Kemmis and McTaggart ดำเนินการ 2 วงรอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 131 คนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 69 คนเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบบันทึกแบบสอบถาม แบบประเมินและแบบสังเกตพฤติกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละความก้าวหน้าสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่นำเสนอแบบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหนองใสพรเจริญวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2 พบว่า 1) สภาพการจัดแหล่งเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจาก ขาดสื่ออุปกรณ์สถิติผู้เข้าใช้บริการน้อย และขาดการดูแลเอาใจใส่ สภาพแหล่งเรียนรู้ไม่สะอาดแสงไม่พอ วัสดุครุภัณฑ์ชำรุด ป้ายนิเทศไม่เป็นปัจจุบัน 2) ปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้ ขาดการบริหารจัดการที่ดี ขาดงบประมาณขาดการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของชุมชนครูไม่มีเวลาดูแลรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้ครูยึดติดกับการจัดการเรียนรู้แบบเดิม กิจกรรมส่งเสริมการเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ไม่ต่อเนื่อง
2. แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการประชุมร่วมกันมีมติให้ดำเนินการพัฒนาบุคลากร ดังนี้ 1) การศึกษาดูงานและประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาหลังการศึกษาดูงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้ร่วมวิจัยมีความรู้และทักษะการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นให้ความร่วมมือการพัฒนาโดยภาพรวมระดับการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.87) ระหว่างการพัฒนากับหลังการพัฒนามีความก้าวหน้า ร้อยละ 23.00 สถิติผู้เข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้หลังการพัฒนาเพิ่มขึ้น 3,809 ครั้งในวงรอบที่ 1 ระดับความพึงพอใจผู้เข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.00) เรียงจากมากไปหาน้อย คือ ห้องสมุด สนาม BBL และเครื่องเล่นอนุบาลห้องเรียนในวงรอบที่ 2 ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90) มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละความก้าวหน้า28.00 เรียงจากมากไปน้อย คือ แปลงสาธิตการเกษตรและสวนหย่อม ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องพยาบาล
The purposes of this research were 1) to investigate conditions and problems of learning resources to support learning management in the 21stcenturyat Nongsaiporncharoenwittaya School under the Office of Sakhon Nakhon Primary Educational Service Area 2; 2) to establish the guidelines for developing learning resources to support learning management in the 21stcentury, 3) to follow up the results after the intervention. The two spirals of participatory action research cycles based on Kemmis and McTaggart’s concept were employed comprising four steps: planning, action, observation, and reflection. The target group consisted of 131 co-researchers and 69 informants. The instruments were a form of interview, a form of meeting records, a questionnaire, an assessment form, and observation forms. Quantitative data were analyzed by mean, standard deviation and percentage of progress. Content analysis was employed for qualitative data in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings of this research were as follows:
1. The conditions and problems of learning resources management to support learning management in the 21st century at Nongsaiporncharoenwittaya School revealed that: 1) There were still inefficiency learning resources. This was because oflimited materials and maintenance, resulting in fewer users. In addition, school learning resources were not clean and did not have sufficient lighting system. Damaged materials and devices, and outdated display boards were also found; 2) The problems of learning resources revealed that there wasalackof good management, budget, public relation and community’s participation. Teachers hadlimited time to take full responsibility for learning resources, and still employed traditional teaching approach. The inconsistent activitiesorganizedto access learning resources were also discovered.
2. The guidelines for developing learning resources were agreed for personnel development involving: 1) a field trip and a workshop, 2) thedevelopment of learning resources, and 3) an internal supervision.
3. The effects after attending a field trip and a workshop revealed that co-researchers gained knowledge and skills and cooperated for developing learning resources as a whole at the highest level ( = 4.87). The percentage of progress before and after the intervention was of 23.00 The increasing numbers of learning resources users as a whole wereup to 3,809 times. In the first spiral, users had a satisfaction level at the highest level ( = 4.00), ranking from high to low mean scores: library, Brain Based Learning (BBL) playground, preschool materials, and classroom respectively. In second spiral, users had their satisfaction at the highest level ( = 4.90) with 28.00 percentage of progress, ranking from high to low mean scores : School agricultural demonstration gardens, science lab, computer lab, and school’snursing room respectively.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 94.91 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 445.31 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 58.93 KB |
4 | บทคัดย่อ | 127.17 KB |
5 | สารบัญ | 274.92 KB |
6 | บทที่ 1 | 250.36 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,234.66 KB |
8 | บทที่ 3 | 213.15 KB |
9 | บทที่ 4 | 909.06 KB |
10 | บทที่ 5 | 262.76 KB |
11 | บรรณานุกรม | 202.67 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 122.80 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 187.72 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 129.82 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 977.62 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 1,194.25 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 100.84 KB |