สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน 2) หาแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และ 3) ติดตามผลของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลศรีสุทโธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอนหลัก 2 วงรอบคือขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับซึ่งผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยประกอบด้วยผู้วิจัยและคณะครูโรงเรียนอนุบาลศรีสุทโธสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลศรีสุทโธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 พบว่า สภาพแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมีสภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพราะแหล่งเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้หลักครบ ซึ่งได้แก่ ห้องสมุด ห้องภาษาไทยห้องคณิตศาสตร์ ห้องวิทยาศาสตร์ และห้องภาษาอังกฤษ โรงเรียนมีนโยบายในการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ แต่แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนนั้นยังขาดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และยังไม่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้นั้นๆ อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ด้านปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลศรีสุทโธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 พบว่า ด้านการพัฒนา โรงเรียนขาดการนิเทศและการติดตามผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณที่จัดสรรให้กับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในโรงเรียนค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อการจัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์ อย่างหลากหลายและด้านบุคลากรและการให้บริการบุคลากรที่รับผิดชอบมีภาระงานมากทำให้ไม่มีเวลาในการให้บริการแหล่งเรียนรู้นั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ
2. แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลศรีสุทโธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ประกอบด้วยการศึกษาดูงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนอนุบาลศรีสุทโธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 พบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้และความเข้าใจในการจัดแหล่งเรียนรู้และพบแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบได้ดียิ่งขึ้น สามารถจัดแหล่งเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ผลการนิเทศภายในอยู่ในระดับมาก ผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และสถิติในการเข้าใช้แหล่งเรียนรู้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกแหล่งเรียนรู้ด้วยเช่นกัน
The purposes of this research were: 1) to examineconditions and problems aboutmanaging schoollearning resourcesatAnubanSrisuttho School under the Office of UdonThani Primary Educational Service Area 3; 2) to establish the guidelines for developingschool learning resources; and 3) to follow up the effects after the intervention. Thetwo spirals of participatory action research were employed and fell into four phrases: planning, action, observation, and reflection. The 20 samples comprised the researcher and teachersworking atAnubanSrisuttho School under the Office of UdonThani Primary Educational Service Area 3 in the second semester of the academic year 2017. The research instruments comprisedan interviewing form, a set of questionnaires, and an assessment form. Percentage, mean and standard deviation were applied for data analysis.
The research results were as follows:
1. The conditions and problems concerning the development of learning resourcesatAnubanSrisuttho School under the Office of UdonThani Primary Educational Service Area 3revealed that the school learning resources weresupportive as a result of the provision of school learning resources for the core subjects, namely Library, Thai language room, Mathematics room, Science room and English language room. School policies for operating learning resources projects have been established. However, school management on learning resources wasunsystematic. The learning support activities were also limited and discontinuous.The problems concerning school learning resource development revealed that in terms of learning resource development, there were no systematic and ongoing supervision and monitoring.The other aspects in terms of budgetallocationand durable materialsfor school learning resources were inadequate. In terms of personnel and service aspects, personnelin charge had a heavy workload and thus they did not have enough time in a day to performservices.
2. Theguidelinefordeveloping learning resourcesatAnubanSrisuttho School under the office of UdonThani Primary Educational Service Area 3 comprised a best practice visit, a training workshop and internal supervision.
3. The effects after the implementation revealed thatco-researchers gained knowledge and understanding how to manage school learning resources. The individual teachers in charge also found out better approaches fostering the development oflearning resources and were able to manage school learning resources effectively based on the proposed guidelines. The result ofthe internal supervision indicated a high level of practices. A high level of satisfaction was also reported by users. In addition, based on the user records, theengaging students in using school learning resources appeared to increase in all learning resources centers.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 93.10 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 438.35 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 57.20 KB |
4 | บทคัดย่อ | 105.49 KB |
5 | สารบัญ | 136.29 KB |
6 | บทที่ 1 | 186.43 KB |
7 | บทที่ 2 | 919.90 KB |
8 | บทที่ 3 | 191.59 KB |
9 | บทที่ 4 | 742.55 KB |
10 | บทที่ 5 | 164.61 KB |
11 | บรรณานุกรม | 163.84 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 234.79 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 231.07 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 851.14 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 322.10 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 290.93 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 81.51 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 646.97 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 220.62 KB |