ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรตามโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ในพื้นที่อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
Development of Rice Farmers’ Quality of Life Based on the Project of Turning Inappropriate Rice Growing Area into Alternative Agriculture in Lue Amnat District, Amnat Charoen Province
ผู้จัดทำ
ลัดดาวัลย์ ร่มเย็น รหัส 59426423106 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรตามโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ในพื้นที่อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ 2) ศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรตามโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น  ในพื้นที่อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในการปฏิบัติตามโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ในพื้นที่อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ในพื้นที่อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 122 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.98) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านครอบครัว (ค่าเฉลี่ย = 4.32) รองลงมา คือ ด้านที่อยู่อาศัย (ค่าเฉลี่ย = 4.14) ด้านสภาพแวดล้อม (ค่าเฉลี่ย = 3.98) ด้านความปลอดภัย (ค่าเฉลี่ย = 3.91) ด้านนันทนาการ (ค่าเฉลี่ย = 3.98) ด้านสุขภาพอนามัย (ค่าเฉลี่ย = 3.89) ด้านการศึกษา (ค่าเฉลี่ย= 3.86) และด้านเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ย = 3.84) ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรตามโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ในพื้นที่อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนพื้นที่เข้าร่วมโครงการ และการสนับสนุนจากภาครัฐ พบว่า ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรตามโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น ในพื้นที่อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ มีจำนวน 3 ด้าน คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านการศึกษา และ3) ด้านสุขภาพอนามัย

Abstract

The purposes of this study were 1) to investigate the levels of quality of life of Lue Amnat District, Amnat Charoen Province farmers who participated in the project of Turning Inappropriate Rice Growing Area into Alternative Agriculture, 2) to compare the levels of quality of life of Lue Amnat District, Amnat Charoen Province farmers who participated in the project of Turning Inappropriate Rice Growing Area into Alternative Agriculture based on their personal factors, 3) to explore guidelines for improving the quality of life of Lue Amnat District, Amnat Charoen Province farmers who participated in the project of Turning Inappropriate Rice Growing Area into Alternative Agriculture. The target population consisted of 122 Lue Amnat District, Amnat Charoen Province farmers who took part in the project of Turning Inappropriate Rice Growing Area into Alternative Agriculture. The research instrument was a questionnaire. The statistics employed for data analysis included frequency, percentage, standard deviation, t – test, and One – way ANOVA.

The study revealed the following results:

1. The quality of farmers’ life, as a whole, was at the high level (ar{x} = 3.98). On each aspect, the quality of the farmers’ family got the highest average point (ar{x} = 4.32). Then, their accommodation (ar{x} = 4.14), environment (ar{x} = 3.98), safety (ar{x} = 3.91), recreation (ar{x} = 3.98), hygiene (ar{x} = 3.89), education (ar{x} = 3.86), and economy (ar{x} = 3.84) were ranked respectively from the second highest to the lowest average points.

2. When comparing the levels of quality of life of these farmers, it was found that after Lue Amnat District, Amnat Charoen Province farmers whose genders, ages, educational levels, marital statuses, number of members, farming areas, government supports differed had participated in the project of Turning Inappropriate Rice Growing Area into Alternative Agriculture, the levels of the quality of their lives did not vary because the regional contexts and the farmers’ livelihood enabled them to earn their living and survive in spite of soil issues and erratic rain and unpredictable weather/climate. Moreover, they all had primary education, were affected by similar economy, and were debtors. In spite of sharing some similarities, their lives and the quality of life were not always and exactly the same. Some aspects of the quality of their lives also depended on good management of one’s life and one’s living satisfaction. For these reasons, these people’s quality of life did not show any differences when comparing.

3. Three guidelines were obtained for improving the levels of quality of life of Lue Amnat District, Amnat Charoen Province farmers who participated in the project of Turning Inappropriate Rice Growing Area into Alternative Agriculture i.e. guidelines for improving their economy, education and hygiene. It was suggested that stable economy development, adequate budget, market for selling farmers’ farm produce, support of agricultural careers to gain sustainable income, organic farming training course and farmers’ health and hygienic care should be provided and launched.

คำสำคัญ
คุณภาพชีวิต, เกษตรกร, เกษตรกรรมทางเลือกอื่น
Keywords
Quality of life, farmers, alternative farmers
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 105.90 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 369.75 KB
3 ประกาศคุณูปการ 71.68 KB
4 บทคัดย่อ 133.45 KB
5 สารบัญ 161.17 KB
6 บทที่ 1 325.79 KB
7 บทที่ 2 983.56 KB
8 บทที่ 3 414.83 KB
9 บทที่ 4 835.97 KB
10 บทที่ 5 345.07 KB
11 บรรณานุกรม 293.99 KB
12 ภาคผนวก ก 1,634.94 KB
13 ภาคผนวก ข 177.94 KB
14 ภาคผนวก ค 376.07 KB
15 ภาคผนวก ง 286.84 KB
16 ภาคผนวก จ 263.80 KB
17 ภาคผนวก ฉ 162.94 KB
18 ภาคผนวก ฑ 158.25 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 เมษายน 2562 - 17:20:29
View 629 ครั้ง


^