สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโครงการ พัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของประชาชนกับประประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 4) ศึกษาอิทธิพลการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในเขตหมู่บ้านเป้าหมายของโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 370 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .853 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.97) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ( = 3.63) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 2.76) อยู่ในระดับมปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (= 2.56) อยู่ในระดับปานกลาง
2. ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.28) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพการบริการ (= 3.38) อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (= 3.36) อยู่ในระดับมปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านนวัตกรรม (= 3.18) อยู่ในระดับมปานกลาง
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนมีอิทธิพลส่งผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว ร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลการดำเนินงาน ได้ร้อยละ 66.8 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานฯ คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนกับประประสิทธิผลการดำเนินโครงการพัฒนาเขตจุดสุม เมืองไชบัวทอง แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ 1) การประเมินผลเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการดังนั้นควรจะมีการจัดการประเมินผลคู่ขนานกับการติดตามผลของกิจจกรรมเพื่อที่จะได้พัฒนาเครื่องมือ และวิธีการดำเนินงานในแต่ละปีเพื่อดึงดูดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น 2) ควรมีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรมีการนำเทคนิคและวิธีการทีทันสมัยมาปรับใช้ในการปฎิบัติงาน จัดทำกิจกรรมใหม่ ๆ และ วิธีการใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
The objectives of this study were: 1) to investigate the level of public participation in the Choodsoum Area Development Project implementation, Xaybuathong district, Khammouane province, Lao PDR, 2) to examine the level of effectiveness of the Choodsoum Area Development Project implementation, 3) to compare public participation and effectiveness of the Choodsoum Area Development Project implementation, and 4) to inquire into the influence of public participation on effectiveness of the Choodsoum Area Development Project implementation. A sample was 370 people in the target villages of Choodsoum Area Development Project. The instrument used in data collection was a questionnaire which had a reliability coefficient of .853, and statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA and Pearson’s product moment correlation coefficient.
Findings of the study revealed as follows.
1. The overall public participation in the Choodsoum Area Development Project implementation was at moderate level (= 2.97). When considering each aspect, the aspect that gained the highest mean score was participation in operation (= 3.63) which was at high level, followed by the aspect of participation in decision-making (= 2.76) which was at moderate level. The aspect that gained the lowest mean score was of participation in evaluation (= 2.56) which was at moderate level.
2. The overall effectiveness of the Choodsoum Area Development Project implementation was at moderate level (= 3.28). When considering each aspect, all of which were at moderate level. The aspect that gained the highest mean score was of service quality (= 3.38) which was at moderate level, followed by the aspect of use of resources to achieve maximum benefit (= 3.36) which was at moderate level. The aspect that gained the lowest mean score was of innovation (= 3.18) which was at moderate level.
3. Public participation had an influence on effectiveness of the Choodsoum Area Development Project implementation. Four independent variables could jointly explain 66.8% of variance of effectiveness of the Project implementation at the .05 level of significance. Those variables include: participation in operation, participation in evaluation, participation in decision-making and participation in receiving benefit, respectively.
4. Guidelines for the development of public participation and effectiveness of the Choodsoum Area Development Project implementation include: 1) Evaluation is important for measuring the efficiency and effectiveness of a project, so there should be parallel assessments of activity monitoring in order to develop tools and procedures for attracting more people to participate; 2) the instruments should be improved to address more efficiently. Modern techniques and methods should be applied to the operation. Preparation of new activities and new ways should be made to attract more public participation.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 589.94 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 382.65 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 85.93 KB |
4 | บทคัดย่อ | 523.45 KB |
5 | สารบัญ | 331.34 KB |
6 | บทที่ 1 | 400.16 KB |
7 | บทที่ 2 | 725.96 KB |
8 | บทที่ 3 | 412.01 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,339.19 KB |
10 | บทที่ 5 | 387.05 KB |
11 | บรรณานุกรม | 420.54 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 1,559.78 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 279.01 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 587.35 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 229.28 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 183.54 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 1,018.18 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 171.26 KB |