ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
อิทธิพลของภาวะผู้นำต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานภายในแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
The Influence of Leadership on Work Motivation Of Officers under the Bolikhamxay Provincial Department Of Energy And Mines, Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
ด่อนแก้ว ไชมูนวง รหัส 59426423128 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกพลังงานและบ่อแร่ 2) อิทธิพลของภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกพลังงานและบ่อแร่ 3) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้แก่ บุคลากร จำนวน 94 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำแผนกพลังงานและบ่อแร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.85) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (µ  = 4.13) มีภาวะผู้นำในระดับมาก รองลงมา คือ ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (µ  = 3.72)  มีภาวะผู้นำในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ภาวะผู้นำแบบตามสบาย (µ  = 2.60) มีภาวะผู้นำในระดับปานกลาง

2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานภายในแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 3.93) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความ สำเร็จในการทำงาน (µ= 4.31) รองลงมาคือ ด้านความรับผิดชอบ (µ = 4.06) ด้านลักษณะของงาน (µ = 3.95) ด้านโอกาสที่จะได้รับความเจริญรุ่งเรือง (µ = 3.90) ด้านการยอมรับนับถือ (µ = 3.84) และ ด้านความก้าวหน้า (µ = 3.68)

3. ภาวะผู้นำโดยภาพรวม ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานภายในแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ R2Adj =.701  ซึ่งภาวะผู้นำทั้ง 3 ประเภท สามารถร่วมกันทำนายระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานภายในแผนกพลังงานและบ่อแร่ แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ 70.10 % เมื่อพิจารณาภาวะผู้นำเป็นรายด้าน พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานภายในแผนกพลังงานและบ่อแร่ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนภาวะผู้นำแบบตามสบายไม่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานภายในแผนกพลังงานและบ่อแร่

4. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานแผนกพลังงานและบ่อแร่แขวงบอลิคำไซ ในภาพรวม ตามปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน (เฉพาะค่าจ้าง หรือเงินเดือน) ระดับชั้นตำแหน่ง และ ประสบการณ์ในการทำงาน  พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The objectives of this study were: 1) to investigate a degree of leadership and work motivation of officers under the Bolikhamxay Provincial Department Of Energy and Mines, Lao People’s Democratic Republic, 2) to examine the influence  of leadership on work motivation of officers under the Bolikhamxay Provincial Department Of Energy and Mines, Lao People’s Democratic Republic, and 3) to compare the differences of work motivation among personnel in the Department of Energy and Mines, Bolikhamxay province, Lao PDR according to the personal background, The instrument used in data collection was a questionnaire. The data were collected from 94 officers of the Bolikhamxay Provincial Department of Energy and Mines, Lao People’s Democratic Republic; and the statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and multiple regression analysis.

Findings of the study were as follows.

1. The Leadership among personnel in the Department of Energy and Mines, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole was at high level (µ= 3.85). When considering each aspect, the aspect that gained the highest mean score was of transformational leadership (µ= 4.13) which was at high level, followed by the aspect of transactional leadership (µ= 3.72) which was at high level. The aspect that gained the lowest mean score was of laissez-faire Leadership (µ= 2.60) which was at moderate level.

2. Work motivation among personnel in the Department of Energy and Mines, Bolikhamxay province, Lao PDR as a whole was at high level (µ= 3.93). When considering each aspect, it was found that all the aspects of the work motivation  were at high level. The aspect that gained the highest mean score was of work achievement (µ= 4.31), followed by the aspects of responsibility (µ= 4.06), work Itself (µ= 3.95), possibility of growth (µ= 3.90), and recognition (µ= 3.84). The aspect that gained the lowest mean score was of advancement (µ= 3.68).

3. The leadership had influence on the work motivation of officers at .05 level of significance with the adjusted R-Square coefficient of determination of .701. The three types of leaderships could together forecast 71.10% of the work motivation level of officers. When considering each aspect, it was found the transformational leadership and transactional leadership aspects had influence on the work motivation of officers at .05 level of significance. The laissez-faire leadership had no influence on the work motivation of officers.

4. The results of comparing work motivation among personnel in the Department of Energy and Mines, Bolikhamxay province, Lao PDR according to the personal backgrounds of sex, age, education, salary level, position and work experience were found significantly different at the .05 level of significance.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
Keywords
Leadership, Work Motivation
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 361.27 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 388.46 KB
3 ประกาศคุณูปการ 115.37 KB
4 บทคัดย่อ 558.52 KB
5 สารบัญ 456.76 KB
6 บทที่ 1 293.39 KB
7 บทที่ 2 1,109.25 KB
8 บทที่ 3 313.38 KB
9 บทที่ 4 1,377.29 KB
10 บทที่ 5 341.76 KB
11 บรรณานุกรม 352.87 KB
12 ภาคผนวก ก 1,170.78 KB
13 ภาคผนวก ข 156.56 KB
14 ภาคผนวก ค 341.95 KB
15 ภาคผนวก ง 451.15 KB
16 ภาคผนวก จ 138.05 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 130.34 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มีนาคม 2562 - 14:28:23
View 513 ครั้ง


^