สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ผู้สอน 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และหาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการยกระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 345 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 105 คน และครูผู้สอน จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.355 – 0.939 โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำของผู้บริหาร เท่ากับ 0.991 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียน เท่ากับ 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก
2. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำแนกตามสถานภาพ ทั้งโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 จำแนกตามประสบ การณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ทั้งโดยรวม และรายด้าน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนทั้งโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน สู่ยุคประเทศไทย 4.0 คือ การคำนึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล (X2) และการกระตุ้นทางปัญญา (X1) โดยสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
Y' = 2.188 + .281 X2 + .193 X1 และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z' = .453 Zx2 + .297 Zx1
4. แนวทางยกระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 มีจำนวน 2 ด้าน คือ การคำนึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล และการกระตุ้นทางปัญญา ซึ่งได้เสนอแนวทางยกระดับจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญไว้ด้วยแล้ว
The purposes of this research were to: 1) examine the level of school administrators’ leadership and effectiveness for Thailand 4.0 of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 as perceived by school administrators and teachers; 2) compare administrators’ leadership and school effectiveness for Thailand 4.0 as perceived by school administrators and teachers with different status, work experience, and school sizes; 3) investigate the relationship and find out the predictive power of administrators’ leadership and school effectiveness for Thailand 4.0; and 4) study the guidelines for improving school administrators’ leadership affecting school effectiveness for Thailand 4.0.
The samples consisted of 105 school administrators and 240 teachers, yielding a total of 345 participants. The research instruments were two questionnaires, which had the discriminative power ranging from 0.355 to 0.939 with the reliability of the questionnaire concerning administrators’ leadership at 0.991 and the school effectiveness questionnaire at 0.976. The statistics used in data analysis were frequency, mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One-way ANOVA), Pearson Product–Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The administrators’ leadership and school effectiveness for Thailand 4.0 as perceived by school administrators and teachers, as a whole and each aspect were at a high level.
2. The administrators’ leadership and school effectiveness for Thailand 4.0 as perceived by school administrators and teachers with different status as a whole were different at a statistical significance of the .01 level. The administrators’ leadership, as perceived by participants with different work experience as a whole were not different, whereas school effectiveness for Thailand 4.0, as a whole was different at a statistical significance of the .01 level. The administrators’ leadership, as perceived by participants from different school sizes as a whole and each aspect was different at a statistical significance of the .01 level, whereas school effectiveness for Thailand 4.0, as a whole was not different.
3. The administrators’ leadership and school effectiveness for Thailand 4.0, as a whole had a positive relationship at a statistical significance of the .01 level. The leadership of school administrators involved two aspects, which were able to predict school effectiveness for Thailand 4.0 comprising individualized consideration (X2) and intellectual stimulation (X1) The equation could be summarized in raw scores as follows: Y' = 2.188 + .281X2 + .193 X1 and the predictive equation standardized score was Z' = .453 Zx2 + .297 Zx1
4. The guidelines for improving leadership of school administrators affecting school effectiveness for Thailand 4.0 of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 involved two aspects; individualized consideration and intellectual stimulation, which were proposed based on the interviewed results from experts.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 102.18 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 595.84 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 66.96 KB |
4 | บทคัดย่อ | 120.86 KB |
5 | สารบัญ | 163.31 KB |
6 | บทที่ 1 | 542.14 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,273.32 KB |
8 | บทที่ 3 | 666.40 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,379.08 KB |
10 | บทที่ 5 | 514.35 KB |
11 | บรรณานุกรม | 345.78 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 123.85 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 445.87 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 259.23 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 141.93 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 158.48 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 439.39 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 94.52 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 154.91 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 84.91 KB |