ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา
Development of a Training Curriculum Based on the Concept of Blended Learning for Enhancing Primary School Teachers’ Competency of Student-Centered Assessment
ผู้จัดทำ
อรุณรุ่ง โยธสิงห์ รหัส 533JCe217 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมิน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็น 3) สร้างหลักสูตรฝึกอบรม และ 4) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้หลักสูตร ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในขั้นทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะ และแบบวัดเจตคติต่อการประเมินที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (Dependent samples t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 

1. หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบของหลักสูตร 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญ  2) แนวคิดพื้นฐาน 3) หลักการของหลักสูตร 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 5) สมรรถนะที่พึงประสงค์ด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 6) โครงสร้างหลักสูตร 7) เนื้อหาสาระและประสบการณ์ 8) วิธีการฝึกอบรม 9) สื่อและแหล่งเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผลการอบรม และ 11) แนวทางการใช้หลักสูตร ผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมโดยผลการประเมินหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.76, S.D. = 0.43)

2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลังการฝึกอบรมครูมีสมรรถนะด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้านความรู้และเจตคติสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินสมรรถนะด้านทักษะอยู่ในระดับดี (X̅ = 2.83) และความพึงพอใจของครูผู้อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 2.4.59, S.D. = 0.61)

Abstract

The purposes of this research were to 1) to develop and to examine the results of implementing a training curriculum based on the concept of blended learning for enhancing primary school teachers’ competency of student-centered assessment, The research procedure consisted of 4 steps: 1) analyze the components of competency of student-centered assessment, 2) investigate the need in developing teachers’ competency of it, 3) create a training curriculum, and 4) experiment in using the training curriculum. A sample derived from selection by purposive sampling was 20 teachers under the Office of Primary Education Service Area 1 in academic year 2015, The instruments used in collecting data for the step of experiment in using the training curriculum were a test of knowledge, a form for assessing the skill, a form for measuring attitude and a questionnaire asking satisfaction with the training curriculum. Statistics used were mean, standard deviation, and a test of means difference using t-test for dependent samples.

The results of this research revealed that:

1. The training curriculum based on the concept of blended learning for enhancing primary school teachers’ competency of student-centered assessment comprised 11 key elements: 1) origin and significance, 2) basic concepts, 3) principles of the curriculum, 4) aim of the curriculum, 5) desirable competency of student-centered assessment, 6) curriculum structure, 7) content and experience, 8) training methods, 9) media and learning sources, 10) training measurement and evaluation, and 11) guidelines for using the curriculum. The result of assessing the overall training curriculum by experts showed that it was appropriate at the highest level (X̅ = 4.76, S.D. = 0.43).

2. The result of experiment in using the training curriculum showed that after training the teachers had significantly higher competencies of student-centered assessment in the aspects of knowledge and attitude than those before training at the .01 level. The result of assessing teachers’ skill competency was at good level (X̅ = 2.83) and teacher’s satisfaction was at the highest level (X̅ = 2.4.59, S.D. = 0.61).

คำสำคัญ
หลักสูตรฝึกอบรม, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, สมรรถนะ, การประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 62.56 KB
2 ประกาศคุณูปการ 33.68 KB
3 บทคัดย่อ 55.16 KB
4 สารบัญ 91.95 KB
5 บทที่ 1 136.02 KB
6 บทที่ 2 660.65 KB
7 บทที่ 3 434.07 KB
8 บทที่ 4 598.94 KB
9 บทที่ 5 104.22 KB
10 บรรณานุกรม 95.37 KB
11 ไม่ระบุประเภทไฟล์ 36.40 KB
12 ภาคผนวก ข 608.71 KB
13 ภาคผนวก ค 68.12 KB
14 ภาคผนวก ง 15,210.05 KB
15 ภาคผนวก จ 220.24 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 34.46 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 ธันวาคม 2560 - 11:47:32
View 2115 ครั้ง


^