สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยและตรวจสอบความเหมาะสมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการสังเคราะห์และวิเคราะห์ปัจจัยหลัก ปัจจัยรอง และปัจจัยย่อยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน และ การศึกษาพหุกรณีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ จำนวน 4 แห่ง ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรม LISREL กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน ประกอบด้วย นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 100 คน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 100 คน ผู้อำนวยการกองการศึกษาหรือหัวหน้าส่วนการศึกษา จำนวน 100 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 100 คน ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 100 คน และประธานกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 100 คน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 6 ปัจจัยหลัก 26 ปัจจัยรอง และ 98 ปัจจัยย่อย ดังนี้ 1) ปัจจัยหลักด้านการบริหารจัดการ มี 7 ปัจจัยรองและ 24 ปัจจัยย่อย 2) ปัจจัยหลักด้านผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มี 9 ปัจจัยรอง และ 26 ปัจจัยย่อย 3) ปัจจัยหลักด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ มี 2 ปัจจัยรอง และ 8 ปัจจัยย่อย 4) ปัจจัยหลักด้านอาคารสถานที่ มี 3 ปัจจัยรอง และ 13 ปัจจัยย่อย 5) ปัจจัยหลักด้านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มี 3 ปัจจัยรอง และ 10 ปัจจัยย่อย และ 6) ปัจจัยหลักด้านการเมืองท้องถิ่น มี 2 ปัจจัยรอง และ 7 ปัจจัยย่อย
2. โมเดลโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 230.22, df = 178, p-value = .00 GFI =.97, AGFI = .94, RMSEA = .02, CN = 577.42 ปัจจัยหลักทั้ง 6 ปัจจัยมีค่าเป็นบวก ระหว่าง .46-.98 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (.98) การบริหารจัดการ (.90) อาคารสถานที่ (.89) การจัดกระบวนการเรียนรู้ (.84) การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (.84)และการเมืองท้องถิ่น (.46) ตามลำดับ มีสมการปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ FE = .90(MA) + .98(SH) + .84(TE) + .89(PL) + .84(PR) + .46(LP)
The objectives of this study were to study the factors and evaluate the suitability of the factors affecting the operation effectiveness improvement of child development centers under local government organizations in the North-eastern region of Thailand. Mixed methods research of qualitative and quantitative researches was employed in this study. The study was conducted in two phases. The first phase was related to the study of factors affecting the operation effectiveness improvement of child development centers under local government organizations in the North-eastern region of Thailand. The synthesis and analysis of main factors, secondary factors and sub-factors affecting the operation effectiveness improvement of child development centers under local government organizations in the North-eastern region of Thailand was done by the study of relevant documents and researches, the interview with seven experts and a multi-case study of four distinguished child development centers. The second phase was related to the suitability evaluation of the factors affecting the operation effectiveness improvement of child development centers under local government organizations in the North-eastern region of Thailand by using confirmatory factor analysis through the assistance of LISREL software. There were 600 subjects in total, namely 100 chief executives of local government organization, 100 chief administrators of local government organization, 100 directors of education division or education sub-division, 100 chiefs of child development centers, 100 teachers who took care of the children and 100 presidents of child development center committee.
The study revealed the following results.
1. The factors affecting the operation effectiveness improvement of child development centers under local government organizations in the North-eastern region of Thailand consisted of 6 main factors, 26 secondary factors and 98 sub-factors, which could be grouped as follows: 1) 7 secondary factors and 24 sub-factors on the main factor of administration and management; 2) 9 secondary factors and 26 sub-factors on the main factor of stakeholders; 3) 2 secondary factors and 8 sub-factors on the main factor of learning process management; 4) 3 secondary factors and 13 sub-factors on the main factor of building and facilities; 5) 3 secondary factors and 10 sub-factors on the main factor of participation from all sectors; 6) 2 secondary factors and 7 sub-factors on the main factor of local politics.
2. Structural model on the factors affecting the operation effectiveness improvement of child development centers under local government organizations in the North-eastern region of Thailand was fitted with the empirical data with Chi-square = 230.22, df = 178, p-value = .00 GFI =.97, AGFI = .94, RMSEA = .02, CN = 577.42. When considering the factor loading of the main factors, it was found that the 6 main factors had positive value between .91 - 1.00 and all had a statistically significant level at .01. The main factors could be prioritized as follows: stakeholders (.98), administration and management (.90), building and facilities (.89), learning process management (.84), participation from all sectors (.84) and local politics (.46) respectively. The equation of factors affecting the operation effectiveness improvement of child development centers under local government organizations in the North-eastern region of Thailand was FE = .90(MA) + .98(SH) + .84(TE) + .89(PL) + .84(PR) + .46(LP)
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 106.62 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 153.22 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 209.86 KB |
4 | บทคัดย่อ | 277.95 KB |
5 | สารบัญ | 288.37 KB |
6 | บทที่ 1 | 390.46 KB |
7 | บทที่ 2 | 3,136.79 KB |
8 | บทที่ 3 | 484.20 KB |
9 | บทที่ 4 | 2,100.04 KB |
10 | บทที่ 5 | 414.78 KB |
11 | บรรณานุกรม | 600.63 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 125.91 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 508.35 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 237.18 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 552.76 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 1,728.92 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 97.92 KB |