สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) หาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ 3) ติดตามผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 20 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 44 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกการประชุม แบบประเมินผลการนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละความก้าวหน้า ข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
1.1 สภาพการดำเนินงาน พบว่า ครูทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แต่การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพ และมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1.2 ปัญหาการดำเนินงาน พบว่าครูขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและขาดความมั่นใจในการปฏิบัติการดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่สามารถนำความรู้ ความเข้าใจไปสู่การปฏิบัติได้ตามกระบวนการ
2. แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 วงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 2) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางพัฒนาโดยการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching)
3. ผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโพธิ์ชัยทองพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 พบว่า
3.1 ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพิ่มขึ้น
3.2 ครูมีทักษะในการปฏิบัติงานดำเนินระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้ง 5 ขั้นตอน เพิ่มมากขึ้น คือ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนและด้านการส่งต่อนักเรียน
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 103.97 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 61.88 KB |
3 | บทคัดย่อ | 82.03 KB |
4 | สารบัญ | 147.82 KB |
5 | บทที่ 1 | 280.04 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,383.18 KB |
7 | บทที่ 3 | 274.71 KB |
8 | บทที่ 4 | 503.79 KB |
9 | บทที่ 5 | 254.29 KB |
10 | บรรณานุกรม | 170.71 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 141.52 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 105.62 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 338.55 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 260.30 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 992.29 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 102.88 KB |