สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบความคิดรวบยอดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ ก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ ก่อนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ ก่อนและหลังเรียน และ 5) เปรียบเทียบความคิดรวบยอด เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคำเตยอุปถัมภ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ 2) แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอด 3) แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล สถิติทดสอบค่าที (t–test for dependent samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณร่วมทางเดียว (One–way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.55
2. ความคิดรวบยอดของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความคิดรวบยอด เจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ต่างกัน เมื่อได้รับการสอนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้กรอบมโนทัศน์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The study was conducted with these purposes: 1) to investigate the effectiveness Index of the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping which affected Mathayom Suksa 1 students’ concept, attitude and learning achievement of English 2) to compare Mathayom Suksa 1 students’ concept possessed before and after Learning through the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, 3) to compare Mathayom Suksa 1 students’ attitudes embodied before and after learning through to the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, 4) to compare Mathayom Suksa 1 students’ learning achievements obtained before and after learning through the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, 5) to compare the concepts, attitudes and English learning achievements of Mathayom Suksa 1 students’ whose emotional intelligences varied (high, moderate, low) before and after learning through the learning activities on Cooperative Learning and Concept Mapping. The subjects were 36 Mathayom Suksa 1 students who were studying in the second semester of 2015 academic year at Khamtoei Uppatham School. they were gained by cluster random sampling technique. The instruments used in this study included 1) the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, 2) the test to examine the students’ concepts, 3) a questionnaire to survey the students’ attitude, 4) an achievement test. The statistics adopted for data analysis were mean, standard deviation, effectiveness index (E.I.), t – test (dependent samples), One–way MANCOVA, and One–way ANOVA.
The study unveiled these results:
1. The learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping had their effectiveness Index (E.I) of 0.55
2. After the students had learnt through the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, their concept was statistically higher than that of before at .05 level of significance.
3. After the students had learnt through the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, their attitude was statistically higher than that of before at .05 level of significance.
4. After the students had learnt through the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, their learning achievements of English was statistically higher than that of before at .05 level of significance.
5. After the students whose emotional intelligences varied had learnt through the learning activities based on Cooperative Learning and Concept Mapping, their concept, attitude, and learning achievement of English were statistically different from each other at the .05 level of significance.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 102.66 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 88.61 KB |
3 | บทคัดย่อ | 111.56 KB |
4 | สารบัญ | 191.37 KB |
5 | บทที่ 1 | 332.50 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,363.10 KB |
7 | บทที่ 3 | 607.14 KB |
8 | บทที่ 4 | 343.27 KB |
9 | บทที่ 5 | 162.29 KB |
10 | บรรณานุกรม | 343.02 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 77.53 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 1,493.28 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 361.28 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 377.82 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 316.28 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 74.41 KB |