สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) หาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 3) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 ที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสำรวจภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดเล็ก ปีการศึกษา 2558 จำนวนรวม 242 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบ เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ระยะที่ 2 แบบประเมินรูปแบบ และระยะที่ 3 แบบประเมินตนเอง การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อความ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบย่อย 65 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบหลักด้านที่ 1 ด้านการดำเนินกลยุทธ์ ประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ คือ (1) วางแผนกลยุทธ์ (2) ปฏิบัติตามกลยุทธ์ (3) ควบคุมเชิงกลยุทธ์ และมีตัวบ่งชี้ 52 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักด้านที่ 2 ด้านวัฒนธรรมองค์การ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ คือ (1) ความเชื่อ (2) ค่านิยม 3) บรรทัดฐาน และมีตัวบ่งชี้ 13 ตัวบ่งชี้
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถม ศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 ประกอบด้วย คือ หลักการของรูปแบบ ความมุ่งหมายรูปแบบ เนื้อหา กระบวนการ พัฒนา การวัดและการประเมินผล
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กก่อนการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 23.80 ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.31 อยู่ในระดับมาก เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมสามารถนำรูปแบบไปใช้ได้
The purposes of this research were to: 1) examine the appropriate components of strategic leadership of administrators at small primary schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in the Educational Inspection Region 11; 2) construct a model of strategic leadership for administrators in small primary schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in the Educational Inspection Region 11; and 3) validate the effective index of the developed model of strategic leadership for administrators in small primary schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in the Educational Inspection Region 11. The samples for a survey study concerning school administrators’ strategic leadership were 242 school administrators from small primary schools under the OBEC in the Educational Inspection Region 11 in the academic year 2012. During the implementation period, the samples involved 20 administrators from small primary schools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 1. The research instruments in the first phase comprised a form of interview, and a questionnaire form. A model assessment form was employed in the second phase. A self-evaluation form was used in the third phrase. The quantitative analysis was done through computer software program, whereas qualitative data were analyzed using content analysis.
The findings were as follows:
1. The components of strategic leadership of administrators in small primary schools under the OBEC in the Educational Inspection Region 11, consisted of two key components with six sub-components and 65 indicators as follows: 1) Strategic Operation comprising three sub-components with 52 indicators, namely (1) Strategic Planning, (2) Strategic Implementation, and (3) Strategic Control; and 2) Organizational Culture comprising three sub-components with 13 indicators, namely (1) Beliefs, (2) Values, and (3) Norms.
2. The model for developing strategic leadership of administrators in small primary schools under the OBEC in the Educational Inspection Region 11 consisted of: principles, objectives, contents, development processes, and measurement and evaluation.
3. The results after the implementation of the model for strategic leadership development of administrators in small primary schools revealed that the pre-implementation mean scores, as a whole was at a moderate level. In addition, the post-model implementation mean scores, as a whole were at a high level with the percentage of progress of 23.80. The efficiency index of the developed model, as a whole, had mean scores of 4.31 at a high level. It could be concluded that the developed model was efficient, appropriate and eligible for further implementation.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 191.74 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 617.67 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 94.56 KB |
4 | บทคัดย่อ | 129.61 KB |
5 | สารบัญ | 198.86 KB |
6 | บทที่ 1 | 200.74 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,169.87 KB |
8 | บทที่ 4 | 369.73 KB |
9 | บทที่ 5 | 231.15 KB |
10 | บรรณานุกรม | 233.00 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 462.44 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 282.69 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 169.00 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 204.25 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 453.19 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 885.23 KB |
17 | ภาคผนวก ช | 568.22 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 77.48 KB |