สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และ 3) ศึกษาผลการใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 14 คน เลือกแบบเจาะจงได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พบว่า มีการเดินออกกำลังกายและตรวจสุขภาพเป็นบางครั้ง โดยมีหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปตรวจ ด้านการปฏิบัติกิจกรรมในการดูแลตนเอง พบว่า ผู้ป่วยต้องการการควบคุมอาหารประเภทไขมัน ต้องการควบคุมน้ำหนักตัว ออกกำลังกาย ผ่อนคลายความเครียด เลิกดื่มสุรา เลิกสูบบุหรี่ และความต้องการของผู้ป่วยคือ ให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลตำบลหรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของจังหวัดเข้ามาให้บริการเป็นประจำทุกเดือน
2. ยุทธศาสตร์พัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในเขตตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย โครงการอบรมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งครอบคลุมถึงหลักการและเหตุผล เป้าหมาย ตัวชี้วัด งบประมาณและผลที่ได้รับ
3. ผลการใช้ยุทธศาสตร์ตามโครงการอบรมเพื่อพัฒนาดังกล่าว พบว่า ความรู้ ความเข้าใจและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับมากและหลังการอบรมตามโครงการพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this study were: 1) to investigate the problem states and need of the hypertension patients self-care, 2) to create a strategy to develop self-care behavior of the hypertension patients, and 3) to examine the results of implementing the strategy to develop knowledge, understanding and self-care behavior of the hypertension patients. The target group of 14 persons selected by purposive sampling was hypertension patients who lived in the Woen Phrabat sub-district area, Tha Uthen district, Nakhon Phanom province. The instruments used in this study were a structured interview guide and a test of knowledge and understanding. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.
The findings were as follows:
1. The problem state and need of self-care of hypertension patients in the Woen Phrabat sub-district area, Tha Uthen district, Nakhon Phanom province disclosed that the patients did exercise and had their health checked occasionally by mobile medical units. They would like the sub-district hospital or provincial medical unit to come to provide service on a monthly basis. In the practice of self-care, it was found that the patients needed to diet and avoid fat eating, needed to control weight, do exercise, relieve from stress, quit drinking or smoking, need to take medicine and make regular appointments for health check with the provincial medical unit on the monthly basis.
2. The created strategy to develop self-care behavior of the hypertension patients in the Woen Phrabat sub-district area, Tha Uthen district, Nakhon Phanom province comprised a training project to develop self-care behavior of the hypertension patients, which was composed of rationale, goals, indicators, budget and outcomes.
3. The result of implementing the created strategy according to the training project showed that knowledge, understanding, and self-care behavior of hypertension patients were at the high level. After the training according to the project of providing knowledge and understanding to the hypertension patients, it was found that their knowledge and understanding of self-care among them was significantly higher than that before the treatment at the .01 level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 96.07 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 66.93 KB |
3 | บทคัดย่อ | 99.01 KB |
4 | สารบัญ | 121.59 KB |
5 | บทที่ 1 | 235.91 KB |
6 | บทที่ 2 | 708.10 KB |
7 | บทที่ 3 | 164.77 KB |
8 | บทที่ 4 | 213.54 KB |
9 | บทที่ 5 | 128.43 KB |
10 | บรรณานุกรม | 188.04 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 166.64 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 280.72 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 161.35 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 72.93 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 70.27 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 105.24 KB |
17 | ภาคผนวก ช | 1,475.98 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 71.24 KB |