ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
แนวทางการพัฒนาทักษะไอซีทีของครูกลุ่มโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Guidelines on Developing Teachers’ ICT Skills in Outstanding Sub-district Schools under the Office of Secondary Education Area 23
ผู้จัดทำ
ศราวุธ แจ้งสุข รหัส 55425117103 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชา วิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ดร.สุทิศา ซองเหล็กนอก
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้ ไอซีที ในโรงเรียนดีประจำตำบล 2) ศึกษาทักษะไอซีทีของครูโรงเรียนดีประจำตาบลตามกรอบสมรรถนะ การใช้ไอซีที ของ UNESCO 3) เสนอแนวทางพัฒนาทักษะไอซีทีของครูโรงเรียนดี ประจำตำบล โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนดีประจำตำบล จานวน 3 โรงเรียน ส่วนผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหาร และครู รวมจานวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพโครงสร้างพื้นฐานทาง ไอซีที ของโรงเรียนดีประจำตำบล พบว่า ทุกโรงเรียนมีการโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียน คือ การเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร โรงเรียนมีเว็บไซต์และเฟสบุ๊ก กลุ่มโรงเรียน รวมถึงไลน์กลุ่มโรงเรียน มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์สาหรับการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ งานด้านไอซีทีภายในโรงเรียน ส่วนครูในโรงเรียนดีประจำตำบลมีทักษะการใช้ไอซีทีเบื้องต้นครูมีอุปกรณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นของตนเอง เช่น โน้ตบุ๊ก แท็บเล๊ต สมาร์ทโฟน เป็นต้น และครูมีการใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

2. ทักษะ ICT ของครูในโรงเรียนดีประจำตำบลตามกรอบสมรรถนะการใช้ไอซีที ของ UNESCO ด้านทักษะการรู้เทคโนโลยี ในรายย่อย 6 ด้าน พบว่า ด้านที่ครูขาดทักษะมากที่สุด คือ ด้านศาสตร์การสอน รองลงมาคือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านองค์กรและการบริหาร

3. ข้อเสนอแนวทางพัฒนาทักษะไอซีที ของครูโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มี แนวทาง 6 ด้านคือ 1) ด้านความเข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา 2)ด้านหลักสูตรและการประเมินผล 3) ด้านศาสตร์การสอน 4)ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 5)ด้านองค์กรและการบริหาร 6)ด้านทักษะการสอนแบบครูมืออาชีพ ซึ่งด้านที่ครูต้องพัฒนามากที่สุด คือ ศาสตร์การสอนที่บูรณาการไอซีทีมาใช้เป็นเครื่องมือในการสอน และด้านที่พัฒนาน้อยที่สุดคือ ความเข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา

Abstract

The purposes of this study were 1) to investigate the conditions of ICT used in outstanding sub-district schools, 2) to explore the ICT skills of the teachers in outstanding sub-district schools based on UNESCO ICT Competency Framework, 3) to propose guidelines on developing the ICT skills of the teachers in outstanding sub-district schools. The population consisted of 3 schools. Key informants were 70 administrators and teachers. The instrument used in the study was a questionnaire and the statistics employed for the analysis comprised percentage and frequency.

The study revealed the following results:

1. All outstanding sub-district schools had their information and communication technology infrastructure which included the internet network, ICT system for school administration and management, school websites, school Facebooks, outstanding sub-district schools’ Facebooks and group Line applications, computer laboratories installed by computers for teaching computer courses, and specific departments in charge of schools’ ICT. The teachers in these outstanding sub-district schools also possessed their basic ICT literacy owning the ICT tools such as laptops, tablets, and smart phones. These teachers used social networks to communicate and seek for more knowledge.

2. Based on UNESCO ICT Competency Framework, the teachers in the outstanding sub-district schools lacked their skills in teaching the most. Respectively, they did not have their skills of information and communication technology the second most and lacked their skills of the organization and administration the third most.

3. In terms of the development of the ICT skills of the teachers in outstanding sub-district schools, it was guided that 6 aspects of the teachers’ ICT skills needed improvement: 1) comprehension of information technology in education, 2) curriculum and evaluation, 3) instructional approaches/teaching science, 4) information technology, 5) organization and administration/management, and 6) professionally teaching skills. The skill indicated by the teachers that they needed most to develop was using ICT as the tool for teaching. At the same time, the skill notified by the teachers that they needed to develop the least was the comprehension of information technology in education.

คำสำคัญ
โรงเรียนดีประจำตำบล, ทักษะการใช้ไอซีที, กรอบสมรรถนะทักษะไอซีทีของยูเนสโก, การรู้เทคโนโลยี
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 95.89 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 624.10 KB
3 ประกาศคุณูปการ 57.84 KB
4 บทคัดย่อ 97.98 KB
5 สารบัญ 146.99 KB
6 บทที่ 1 240.18 KB
7 บทที่ 2 421.98 KB
8 บทที่ 3 269.73 KB
9 บทที่ 4 1,495.92 KB
10 บทที่ 5 283.61 KB
11 บรรณานุกรม 135.08 KB
12 ภาคผนวก ก 787.52 KB
13 ประวัติย่อของผู้วิจัย 73.72 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 ธันวาคม 2560 - 15:19:10
View 546 ครั้ง


^