ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรู้สารสนเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Development of an Enrichment Curriculum for Enhancing Information Literacy According to the Blended Learning and Brain-based Learning Concepts for upper Secondary School Students
ผู้จัดทำ
รุ่งทิวา ปุณะตุง รหัส 55632227103 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ดร.อุษา ปราบหงษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร บุญใช้
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดของการรู้สารสนเทศ 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรู้สารสนเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตร การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มี 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร และ 3) ทดลองใช้หลักสูตรโดยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design ใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรและคู่มือประกอบการใช้หลักสูตร แบบทดสอบความสามารถในการรู้สารสนเทศ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบที (Dependent Samples t–test, One Sample t–test)  

ผลการวิจัยพบว่า

1. มาตรฐานและตัวชี้วัดของการรู้สารสนเทศที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 มาตรฐาน 18 ตัวชี้วัด 

2. หลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรู้สารสนเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 3) หลักการ 4) จุดมุ่งหมาย 5) มาตรฐานและตัวชี้วัดของการรู้สารสนเทศ 6) โครงสร้างเนื้อหา 7) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ 7.1) กระตุ้นการเรียนรู้ 7.2) เลือกประเด็นศึกษา 7.3) วางแผนค้นคว้า   7.4) มุ่งมั่นเรียนรู้ 7.5) ระดมพลังสมอง 7.6) สร้างสรรค์ผลงาน 7.7) นำเสนอผลงานกลุ่ม และ 7.8) ประเมินผลงาน 8) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 9) การวัดและประเมินผล 

3. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า

3.1 ความสามารถในการรู้สารสนเทศของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

3.2 ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.25, S.D. = 0.53)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate standards and indicators of information literacy, 2) to develop an enrichment curriculum for enhancing information literacy according to the blended learning and brain-based learning concepts for upper secondary school students, and 3) to examine the results of experiment in using the curriculum. The procedure of this study comprised 3 stages: 

1) investigating basic data, 2) developing a curriculum, and 3) experimenting in use of the curriculum. The one group pretest-posttest research design was used to experiment with the sampling group of 37 upper secondary school students in the second semester of 2016. The instruments used were a developed curriculum and curriculum usage manual, a test of information literacy, and a form for assessing students’ satisfaction with instructional organization according to the curriculum. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for dependent samples and t–test for one sample. 

Findings of study were as follows:

1. The developed standards and indicators of information literacy comprised 6 standards and 18 indicators.

2. The enrichment curriculum for enhancing information literacy according to the blended learning and brain-based learning concepts for upper secondary school students consisted of 9 components: 1) origin and significance; 2) concepts and basic theories; 3) principles; 4) objectives; 5) standards and indicators;  6) content structure; 7) learning activity organization process which comprised 7 steps: 7.1) simulate learning, 7.2) choose the points, 7.3) plan to discover, 7.4) learn it,    7.5) brainstorm, 7.6) create works, 7.7) present the works of group, and 7.8) assess what learned; 8) media and sources of learning, and 9) measurement and evaluation. 

3. Results of experiment in using the curriculum were found as follows:

3.1 Students’ information literacy after learning was significantly higher than that before learning at the .05 level and the mean score passed the criterion of 80 out of 100.

3.2 Students’ satisfaction with instructional organization according to the curriculum gained a mean score at high level (X̅ = 4.25, S.D. = 0.53).

คำสำคัญ
หลักสูตรเสริม, ความสามารถในการรู้สารสนเทศ, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 101.05 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 256.39 KB
3 ประกาศคุณูปการ 39.85 KB
4 บทคัดย่อ 62.54 KB
5 สารบัญ 71.21 KB
6 บทที่ 1 149.85 KB
7 บทที่ 2 690.03 KB
8 บทที่ 3 179.30 KB
9 บทที่ 4 319.50 KB
10 บทที่ 5 125.37 KB
11 บรรณานุกรม 139.31 KB
12 ภาคผนวก ก 1,316.07 KB
13 ภาคผนวก ข 925.56 KB
14 ภาคผนวก ค 288.25 KB
15 ภาคผนวก ง 142.10 KB
16 ภาคผนวก จ 350.82 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 45.43 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
14 ธันวาคม 2560 - 12:29:33
View 1996 ครั้ง


^