สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่มีสถานภาพต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน จำแนกตามอำเภอที่มีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 3) หาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานบริหารวิชาการ และครูผู้สอน ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 1,163 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานบริหารวิชาการ และครูผู้สอน ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ t–test และ F–test (One–Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง
2. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมแล้ว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำแนกตามอำเภอที่มีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
5. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่ควรพัฒนา คือ มีทั้งหมด 8 ด้าน คือ การพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
This research intended to: 1) The study effectiveness of academic administration in the educational opportunity extension schools. 2) The comparative comments effectiveness of academic administration in the educational opportunity extension schools, with the differently status, the sizes of the schools, the district with the educational opportunity extension schools. 3) The development appropriate guidelines of academic administration in the educational opportunity extension schools. The population of the study was administrators, teachers responsible administration academic and teachers. In the year 2556 of 1,163 people. The samples used in the study was administrators, teachers responsible administration academic and teachers. In the year 2556 of 325 people. The instrument used for data collection was a questionnaire. The rating scale 5-level. The statistics used in the analysis the data was percentage, mean, standard deviation. Test the analysis using t-test and F-test (One-Way ANOVA).
The findings were as follows:
1. The effectiveness of academic administration in the educational opportunity extension schools. was medium the level.
2. The administrators, teachers responsible administration academic and teachers. The comparison comments about the effectiveness of academic administration in the educational opportunity extension schools. of Overall, the differences of statistical of significance level .01.
3. The administrators, teachers responsible administration academic and teachers. The comparison comments about the effectiveness of academic administration in the educational opportunity extension schools. The sizes of the schools. Overall, the differences of statistical of significance level .05.
4. The administrators, teachers responsible administration academic and teachers. The comparison comments about the effectiveness of academic administration in the educational opportunity extension schools, the district with the educational opportunity extension schools. Overall, no difference.
5. The development effectiveness of academic administration in the educational opportunity extension schools. That should be developed, with all 8 areas was the development or carry on comments, the development of local curriculum, The develop school-based curriculum, the measurement evaluation and compared to results, the promoting academic knowledge to the community, the development of the learning process, the development of innovative and educational technology, the organized and practical guidelines concerning academic school, the developed and use of technologies for education.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 57.00 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 33.32 KB |
3 | บทคัดย่อ | 73.35 KB |
4 | สารบัญ | 143.50 KB |
5 | บทที่ 1 | 229.53 KB |
6 | บทที่ 2 | 888.48 KB |
7 | บทที่ 3 | 196.47 KB |
8 | บทที่ 4 | 621.05 KB |
9 | บทที่ 5 | 286.86 KB |
10 | บรรณานุกรม | 110.10 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 165.25 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 561.87 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 67.75 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 175.51 KB |
15 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 52.46 KB |