ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร หน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียนและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ห้องการศึกษาธิการและกีฬา แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Development of the Personnel in Charge of the Task of Information for Management in the Unit of Preschool and Basic Education under the Office of Education and Sports, Savannakhet Province, LaoPDR
ผู้จัดทำ
บุนยืน พนนวนสี รหัส 56421229147 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, ดร.เยาวลักษณ์ สุตะโคตร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหารหน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียนและการศึกษาขั้นพื้นฐาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหารหน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียนและการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหารหน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียนและการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 31 คน ประกอบด้วย หัวหน้าหน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียน และการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และรองหัวหน้าหน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียน และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ห้องการศึกษาธิการและกีฬาเมือง แขวงสะหวันนะเขต จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 4 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบนิเทศภายใน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.  สภาพและปัญหา ศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหารหน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียนและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ห้องการศึกษาธิการและกีฬา  แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า

1.1  สภาพศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร พบว่า บุคลากรยังมีการเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับประวัตินักเรียนโดยใช้ระบบจดบันทึก บุคลากร ยังขาดความรู้ ทักษะในการกรอกข้อมูลด้วยระบบ ICT และการส่งข้อมูลในการรายงาน   ยังไม่ทันกำหนดเวลา

1.2  ปัญหาศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร พบว่า บุคลากรขาดความรู้และทักษะการส่ง E-mail ข้อมูลสารสนเทศในระหว่างหน่วยงาน และขาดบุคลากรที่รับผิดชอบ และการรายงานข้อมูลผ่านทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ด้านงานสารสนเทศเพราะขาดความมั่นใจ และขาดความรู้และทักษะ ในการปฏิบัติงาน ระบบอินเทอร์เน็ตของหน่วยงานยังมีปัญหาเนื่องจากสัญญาณไม่ครอบคลุมทำให้เกิดปัญหาในการส่งข้อมูล

2.  แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหารหน่วยงานการศึกษาก่อนวัยเรียนและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ห้องการศึกษาธิการและกีฬา แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดำเนินการพัฒนา โดย  1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การนิเทศภายใน

3.  ผลการติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร พบว่า กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความสามารถในการกรอกข้อมูลสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง มีการเก็บข้อมูลสารสนเทศทั้งระบบจดบันทึก และการบันทึกไว้กับเครื่องมือ สื่อ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการสืบค้นข้อมูล
มีการรายงานข้อมูลผ่านช่องทาง E-mail ไปยังหน่วยงานต้นสังกัด ได้รวดเร็ว ถูกต้อง ทันเวลา ที่กำหนด ส่งผลให้การดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานมีการส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม สัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถให้กับบุคลากรในหน่วยงานให้สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีได้ และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ แปลผลเพื่อการพัฒนาได้

Abstract

This study aimed to 1) investigate current states and problems in the personnel potential in the Unit of Information for Management, Savannakhet Province, LaoPDR, 2) find out guidelines of the personnel potentiality development on the information for management in the Unit of the Preschool and Basic Education, and
3) monitor and evaluate effects of the development of the personnel responsible for information for management in the Unit of the Preschool and Basic Education. The target group consisted of 15 heads of the Unit of Preschool and Basic Education and 15 deputies of the Unit. There were 4 informants. A Participatory Action Research (PAR) of 2 spirals with 4 stages including: planning, action, observation and reflection was employed. Instruments used were a form of interview, a test, a form of observation as well as a form of internal supervision. Percentage, mean, standard deviation were utilized to analyze data.

Findings were as follows:

1.  The states and problems on the competency of the personnel in charge of the information for management in the Unit of the Preschool and Basic Education under the Office of Education and Sports, Savannakhet Province, LaoPDR found that:

1.1  The states of the competency development of the personnel responsible for the task of the information for management indicated that the personnel still kept the students' data in forms of record keeping. The personnel faced a lack of knowledge, skills in filling in data in the system of information and communications technology as well as the sending of information to report in the quite late manner after the designated time.

1.2  The problems of the potential development of the personnel in charge of information for management in the Unit of Preschool and Basic Education were that the personnel encountered a lack of knowledge and skills in sending Email among the agencies and there was a shortage the personnel in charge of sending Email as well as reporting the information via the Email system on forms of information because they lacked self-confidence, know; edge and skills. In case of the Internet system performance in the agency, it was found that the problems faced was the coverage of the Internet signal that led to the problems on the sending of information.

2.  The guidelines of the competency development of the personnel in charge of the information for management in the Unit of Preschool and Basic Education under the Office of Education and Sports included: 1) a study tour, and 2) internal supervision.

3.  The effects of the potential development of then personnel responsible for information for management revealed that the co-researchers gained knowledge, abilities in filling in information correctly and keeping the information for security and comfort in the search for information. There was a report through Email to the mother agency with quickness, accuracy and in designated time. This affected the performance on the sending of information for management of the Unit in order to allow the personnel to attend training sessions, seminars in the topics concerned to increase their skills, knowledge, abilities making them able to apply the media technology and use information to analyze as well as interpret it for the development.

คำสำคัญ
การพัฒนาบุคลากร, งานสารสนเทศ
Keywords
Personnel Development, Information Task
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 134.28 KB
2 ประกาศคุณูปการ 73.75 KB
3 บทคัดย่อ 127.00 KB
4 สารบัญ 163.60 KB
5 บทที่ 1 256.88 KB
6 บทที่ 2 2,788.73 KB
7 บทที่ 3 371.69 KB
8 บทที่ 4 607.97 KB
9 บทที่ 5 254.34 KB
10 บรรณานุกรม 283.88 KB
11 ภาคผนวก ก 1,521.97 KB
12 ภาคผนวก ข 867.33 KB
13 ภาคผนวก ค 1,027.53 KB
14 ประวัติย่อของผู้วิจัย 96.07 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
25 เมษายน 2562 - 13:07:26
View 436 ครั้ง


^