ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาคู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียน และค่านิยมประชาธิปไตยกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6
Development of Teaching Manual for Multi-grade Classroom by Using Team Game Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle to Improve Learning Achievement, Learning Retention, and Democratic Values in Mathematics Learning Substance Group for Prathom Suksa 5 and 6 Students
ผู้จัดทำ
จักรี ภูมลี รหัส 56421231120 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจาร์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์, ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนหลังได้รับการสอนด้วยคู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เมื่อผ่านการทดลองไป 14 วัน 4) เปรียบเทียบค่านิยมประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 5) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและค่านิยมประชาธิปไตยของนักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) ที่ได้รับการสอนโดยคู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน รวม 25 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านดอนแก้วโนนอินทร์แปลงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Clustersampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบวัดค่านิยมประชาธิปไตยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว (One-way MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของคู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีเท่ากับ 78.33/80.80 แสดงว่านักเรียนสามารถทำคะแนนระหว่างเรียนจากแบบทดสอบย่อย และทำคะแนนหลังเรียนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ได้ตามเกณฑ์ 75/75

2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีความคงทนในการเรียน

4. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีค่านิยมประชาธิปไตยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้คู่มือการสอนคละชั้นโดยใช้เทคนิค TGT ร่วมกับวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่านิยมประชาธิปไตยไม่แตกต่างกัน

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to develop the teaching manual for multi-grade classroom by using Team Game Tournament (TGT) And 7E’s Learning Cycle to contain its efficiency of 75/75, 2) to compare the stydents’ learning achievements possessed before and after they had learnt through the developed teaching menual for multi-grade classroom by using Team Game Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle, 3) to compare the students’ learning retentions possessed after they had just learnt through the develped teaching menual for multi-grade classroom by using Team Game Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle and after they had learnt through this manual for 14 days, 4) to compare the students’ democratic values possessed before and after they had learnt through the developed teaching menual for multi-grade classroom by using Team Game Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle, 5) to compare the learning achievements and democratic values of the students whose critical thoughts were low, moderate and high after these groups of students had learnt through the develped teaching menual for multi-grade classroom using Team Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle. The subjects were 25 students (Prathom Suksa 5 = 15 students ; Prathom Suksa 6 = 10 students). They were studying in the second semester of 2014 academic year at Ban Don Kaew Non Inplang School under the jurisdiction of Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. These subjects were obtained by cluster sampling by using the School as the sampling unit. The instruments consisted of the teaching manual for multi-grade classroom by using Team Game Tourmament (TGT) and 7E’s Learning Cycle, achievement test, the form to measure the stydents’ critical thoughts, and the Form to examine the students’ democrativ values. The statistice employed for data analysis and testing the hypotheses were percentage, mean, standard deviation, t-test (Dependent Samples, One-way ANOVA, One-way MANCOVA, and One-way ANCOVA).

The study yielded these results:

1. The teaching manual for multi-grade classroom by using Team Game Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle had its efficiency of 78.33/80.80. This meant that the students did the mini tests while studying well and they could do the achievement test better than the set crtieria of 75/75.

2. After the students had learnt through the traching manual for multi-grade classroom by using Team Game Tournament (TGT) and 75’s Learning Cycle, their learning achievement was statistically higher than that of before at .05 level of significanec.

3. The studemts who had learnt through the teaching manual for multi-grade classroom by using Team Game Tourmament (TGT) and 7E’s Learning Cycle could retain their knowledge.

4. After the students had learnt through the teaching manual for multi-grade classroom by using Team Geme Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle, their democratic values were statistically higher than those of before at .05 level of significance.

5. After the students had learnt through the through the teaching manual for multi-grade classroom by using Team Game Tournament (TGT) and 7E’s Learning Cycle, the learning achievements of the students whose critical thoughts vatied were statistivally different from one another at .05 level of significance while their democratic values were not statistically different.

คำสำคัญ
คู่มือการสอนคละชั้น, การจัดการเรียนรู้เทคนิค TGT, วัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคงทนในการเรียน, ค่านิยมประชาธิปไตย
Keywords
Teaching manual for multi-grade classroom, TGT teaching technique, 7E’s Learning Cycle, learning achievement, learning retention, democratic value, critical thinking/thought
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 132.43 KB
2 ประกาศคุณูปการ 73.55 KB
3 บทคัดย่อ 159.89 KB
4 สารบัญ 171.56 KB
5 บทที่ 1 533.41 KB
6 บทที่ 2 2,612.57 KB
7 บทที่ 3 682.80 KB
8 บทที่ 4 558.41 KB
9 บทที่ 5 398.33 KB
10 บรรณานุกรม 614.51 KB
11 ภาคผนวก ก 383.29 KB
12 ภาคผนวก ข 1,484.08 KB
13 ภาคผนวก ค 515.10 KB
14 ภาคผนวก ง 720.84 KB
15 ประวัติย่อของผู้วิจัย 88.16 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
17 พฤษภาคม 2562 - 09:19:29
View 1416 ครั้ง


^