ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
The Causal Relationship Model of Effectiveness of Tessaban Schools under the Local Administrative Organization
ผู้จัดทำ
ธีระนัน พิรุณสุนทร รหัส 56620248109 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัตน์, รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล และ ตัวแปรสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล 2) สร้างและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 320 โรงเรียน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of analysis) และผู้ให้ข้อมูลหลัก (Informant) คือ ผู้บริหารโรงเรียนละ 1 คน ครูวิชาการโรงเรียนละ 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 640 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบบันทึกคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติทั้งสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง

ผลการวิจัยพบว่า

1. ตัวแปรภายนอก ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 2 ตัว ได้แก่ 1) สมรรถนะขององค์การและ 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ตัวแปรภายใน ประกอบด้วยตัวแปรแฝง 3 ตัว ได้แก่ 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 2) บรรยากาศของโรงเรียน และ 3) ประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์มีซึ่งมีค่าเท่ากับ 153.43 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.49 df=154) ซึ่งเป็นการยืนยันว่ารูปแบบเชิงสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ยังมีค่าที่ระบุความกลมกลืนอื่นๆ เช่น ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) = 0.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) = 0.9 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) = 0.93

3. ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาล อิทธิพลทางตรงสูงสุด ได้แก่ บรรยากาศของโรงเรียน (ค่าอิทธิพล = 0.93) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด ได้แก่ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ส่งผ่านส่งผ่านการจัดการเรียนรู้ (ค่าอิทธิพล = 0.16) และตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด ได้แก่ บรรยากาศของโรงเรียน (ค่าอิทธิพล = 0.93)

Abstract

The purposes of this research were to: 1) examine the effectiveness of Tessa ban schools and the causal variables affecting the effectiveness of Tessa ban schools; 2) construct and validate the goodness-of-fit of the causal relationship model of the effectiveness of Tessa ban schools under the Local Administrative Organization with the empirical data. The research samples, obtained through the unit of analysis technique, included 320 Tessa ban schools under the Local Administrative Organization, Ministry of Interior, in the 2016 academic year. Key informants, drawn from a simple random sampling technique, comprised a school administrator and an academic affairs teacher from each school, yielding 640 people. The research instruments were an interview form, a set of questionnaires and written records of the scores derived from National Educational Testing System (O-NET). The computer software package was utilized for the analysis of descriptive and inferential statistics.

The findings were as follows:

1. Exogenous latent variables consisted of two latent variables: 1) Organizational performance and 2) Instructional leadership of school administrators; The endogenous variables consisted of three latent variables: 1) Learning process; 2) School atmosphere; and 3) Effectiveness of Tessa ban Schools.

2. The causal relationship model of the effectiveness of Tessa ban schools showed its consistency with the empirical data. The results of the model validation indicated that the Chi-square goodness of fit test was 153.43; P-value = 0.49; degree of freedom (df) = 154; root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.00; goodness-of-fit index (GFI) = 0.9; and adjusted-goodness-of-fit index (AGFI) = 0.93.

3. The variable with direct and the highest total influence on school effectiveness was school atmosphere (0.93). The most indirect influenced variable was instructional leadership of school administrators through learning management (0.16).

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
Casual Relationship Model, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 76.10 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 759.26 KB
3 ประกาศคุณูปการ 59.75 KB
4 บทคัดย่อ 112.46 KB
5 สารบัญ 252.31 KB
6 บทที่ 1 287.19 KB
7 บทที่ 2 2,186.91 KB
8 บทที่ 3 396.14 KB
9 บทที่ 4 845.94 KB
10 บทที่ 5 241.83 KB
11 บรรณานุกรม 234.88 KB
12 ภาคผนวก ก 130.68 KB
13 ภาคผนวก ข 179.70 KB
14 ภาคผนวก ค 506.62 KB
15 ภาคผนวก ง 409.53 KB
16 ภาคผนวก จ 1,181.83 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 81.21 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 เมษายน 2562 - 00:00:23
View 687 ครั้ง


^