ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารแบบบูรณาการของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนจังหวัดสกลนคร
Integrated Management of the Institutes of Community Fund Management, Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
ปิยะวดี ยอดนา รหัส 56632234111 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ วะสีนนท์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น, ดร.ปภัสสร เธียรปัญญา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 4 ประการคือ  1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร 3) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการบริหารของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร 4) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ซึ่งเป็นการผนวกรวมการวิจัยสองรูปแบบเข้าด้วยกันคือ วิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านเหล่าใหญ่ จำนวน 291 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ด้านการปกครองท้องถิ่น ด้านการปกครองท้องที่ ธนาคารของรัฐ กรรมการและสมาชิกสถาบันฯ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ บ้านเหล่าใหญ่ บ้านบึงโนใน และบ้านหนองสะไน จำนวนทั้งสิ้น 20 คน

ผลการวิจัยพบว่า  1) พัฒนาการของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ พัฒนาการระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับหมู่บ้าน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านเหล่าใหญ่มีพัฒนาการอยู่ในระดับ 3 ระดับดี 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร พบว่า ในกรณีบ้านเหล่าใหญ่ มีปัจจัย 3 ด้านที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถาบันฯ มากที่สุด คือ คณะกรรมการบริหาร สมาชิก และผู้นำชุมชน รองลงมาเป็นปัจจัยด้านการบริหารจัดการ วัฒนธรรมองค์กร โดยวางอยู่บนพื้นฐานปัจจัยด้านทุนทางสังคม เครือข่ายภายนอก และนโยบายภาครัฐ 3) เปรียบเทียบรูปแบบการบริหารของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร พบว่า บ้านเหล่าใหญ่ใช้รูปแบบการบริหารผสมผสานระหว่างรูปแบบการบริหารแบบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐกับรูปแบบการบริหารเชิงสถานการณ์ซึ่งกำหนดขึ้นโดยคนในชุมชน บ้านบึงโนไน ใช้รูปแบบการบริหารแบบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐเต็มรูปแบบ และบ้านหนองสะไนใช้รูปแบบการบริหารแบบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐไม่เต็มรูปแบบ  4) รูปแบบการบริหารที่เหมาะสมของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน จังหวัดสกลนคร จากกรณีบ้านเหล่าใหญ่พบว่าเป็นรูปแบบการผสมผสานระหว่างการบริหารแบบบูรณาการของหน่วยงานภาครัฐ และการบริหารเชิงสถานการณ์ที่ชุมชนปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน กลายเป็นรูปแบบการบริหารแบบบูรณาการของชุมชน    

การปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของชุมชน แสดงถึงข้อจำกัดของรูปแบบสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนที่มุ่งแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยเฉพาะ แต่ชุมชนต้องการสถาบันการเงินสมบูรณ์แบบในรูปของธนาคารหมู่บ้าน ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปได้แก่ การศึกษาถึงแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการองค์กรชุมชนในประเด็นการให้ความรู้ในระบบการบริหารงานการเงิน/บัญชี โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ภายใต้ยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 และศึกษาถึงแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพึ่งตนเองในทางเศรษฐกิจของชุมชนถึงแนวทางความเป็นไปได้ในการยกระดับจากสถาบันการเงินระดับชุมชนด้วยการขยายขอบเขตการให้บริการการเงินออกไปให้ครบถ้วนในรูปแบบของธนาคารหมู่บ้าน หรือ “เหล่าใหญ่ ไมโครไฟแนนซ์ โมเดล”

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate the development of the institutes of community fund management, Sakon Nakhon province, 2) to examine the factors that affect the success of the institutes of community fund management, Sakon Nakhon province, 3) to compare management models of the institutes of community fund management, Sakon Nakhon province, and 4) to inquire into an appropriate management model of the institutes of community fund management, Sakon Nakhon province. A mixed method of quantitative research and qualitative research was used by using questionnaire, documentary survey, interviewing and observation. The sample used in collecting data by questionnaires was 291 members of Ban-Lao-Yai village institute of community fund management. The sample used in collecting data by interviewing 20 people included the community development officers of district and provincial levels, local administration officers, government bank officer, people from the Institutes in Ban-Lao-Yai village, Ban-Bueng-No-Nai village, and Ban-Nong-Sanai village.

Findings of the study were as follows. 1) The development of institute of community fund management, Sakon Nakhon province was divided into 3 parts; the development in national, provincial and village levels. The Institute in Ban-Lao-Yai village had the development ranking in the level 3 (good level). 2) The 8 factors influenced the success of the Institute of Community Fund Management in Ban-Lao-Yai village comprised 3 highest scored factors were as follows: management board, members, and community leaders. The next 5 factors were management, organization culture, based on the factors of social capital, external network, and government policy. 3) The comparison of management models of the 3 institutional areas was as follows: (1) The Institutes of Community Fund Management in Ban-Lao-Yai village implemented a mixed management model of the integrated management model of the government agency and the situational management model which was applied by the villagers. The Institute of Community Fund Management in Ban-Bueng-No-Nai village used the government agency’s model completely. But the Institute of Community Fund Management in Ban-Nong-Sanai village used the government agency’s model only partially. 4) The appropriate and successful management model of the Institute of Community Fund Management, Ban-Lao-Yai village was obtained by incorporating integrated management of the government agency with situational management which the villagers had adapted it to the needs of the community, thus, becoming the integrated management model of the community.

The adaptation of the management model to the needs of the community showed the limit of the institution of community fund management model which aimed to solve the problem of debt only. But the community wanted the comprehensive financial institution in the form of village bank. Suggestions for further research: The study of the strengthening of the community organizational management through the learning of financial management system by using information technology, under the Strategy of Thailand 4.0. The study of the strengthening of self-reliance in community economy through the possibility of upgrading the community financial institution to give comprehensive financial service in the form of village bank, or the “Lao-Yai Microfinance Model”.

คำสำคัญ
สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน, การบริหารแบบบูรณาการ, การบริหารเชิงสถานการณ์, การบริหารที่เหมาะสม
Keywords
Institute of Community Fund Management, Integrated Management, Situational Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 73.24 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 370.36 KB
3 ประกาศคุณูปการ 40.71 KB
4 บทคัดย่อ 93.10 KB
5 สารบัญ 161.98 KB
6 บทที่ 1 213.62 KB
7 บทที่ 2 1,664.51 KB
8 บทที่ 3 240.69 KB
9 บทที่ 4 1,563.41 KB
10 บทที่ 5 236.75 KB
11 บรรณานุกรม 266.25 KB
12 ภาคผนวก ก 2,555.18 KB
13 ภาคผนวก ข 53.24 KB
14 ภาคผนวก ค 263.80 KB
15 ภาคผนวก ง 183.15 KB
16 ภาคผนวก จ 2,869.81 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 61.78 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 เมษายน 2562 - 10:46:13
View 723 ครั้ง


^