สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบ ดำเนินการโดย 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ร่างรูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และ 3) นำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณา และระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ ดำเนินการโดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.36-0.89 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.99 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างานประกันคุณภาพภายใน และครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 2) ขอบข่ายการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 3) กระบวนการการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และ 4) ผลลัพธ์ของการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน
2. รูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 2) ขอบข่ายการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน 3) กระบวนการการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และ 4) ผลลัพธ์ของการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน
This study aimed to develop and evaluate the appropriateness of the internal quality assurance operation model for schools under the Secondary Educational Service Area Office 23. It was conducted in 2 phases. The development of the model was done in the first phase by 1) studying relevant concepts, theories and research papers; 2) drafting an internal quality assurance operation model and 3) receiving deliberation and comments of 5 experts on the draft model. The appropriateness evaluation of the developed model was carried out in the second phase. Data was collected by using a 5-level rating scale questionnaire with content validity index between 0.80-1.00, discrimination power between 0.36-0.89 and overall reliability value at 0.99. The sample group consisted of 400 school directors, head teachers in internal quality assurance affairs and teachers under the Secondary Educational Service Area Office 23 in the academic year B.E. 2561, selected with multi-stage random sampling. Data analysis was conducted with SPSS to determine the percentage, mean and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The internal quality assurance operation model comprised of 4 components, which were 1) supporting factor on the success of internal quality assurance; 2) scope of internal quality assurance operation; 3) internal quality assurance operational process and 4) internal quality assurance operation result.
2. The overall appropriateness of the developed internal quality assurance operation model for schools under the Secondary Education Service Area Office 23 was at a high level. Each component could be arranged from the highest to the lowest as 1) supporting factors on the success of internal quality assurance, 2) scope of internal quality assurance operation, 3) internal quality assurance operational process, and 4) internal quality assurance operation result.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 105.88 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 434.25 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 30.28 KB |
4 | บทคัดย่อ | 130.65 KB |
5 | สารบัญ | 105.75 KB |
6 | บทที่ 1 | 186.98 KB |
7 | บทที่ 2 | 739.45 KB |
8 | บทที่ 3 | 194.40 KB |
9 | บทที่ 4 | 618.34 KB |
10 | บทที่ 5 | 164.75 KB |
11 | บรรณานุกรม | 211.69 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 87.29 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 16,504.49 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 483.85 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 185.08 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 88.20 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 62.05 KB |