สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) พัฒนาและตรวจสอบกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย คือ 1) ด้านการกำหนดสมาชิกเครือข่าย 2) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 4) ด้านการมีทักษะภาวะผู้นำ 5) ด้านการประสานงานของเครือข่าย 6) ด้านการติดตาม ประเมินผล 7) ด้านวัฒนธรรมองค์กร 8) ด้านทรัพยากรท้องถิ่น 9) ด้านนโยบายทางการศึกษาและ 10) ด้านเทคโนโลยี
2. การพัฒนาและตรวจสอบกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีจุดแข็ง 3 ด้าน คือ 1) ด้านการติดตาม ประเมินผล 2) ด้านการกำหนดสมาชิกเครือข่าย และ 3) ด้านการประสานงานของเครือข่าย จุดอ่อน 3 ด้าน คือ 1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และ 3) ด้านการมีทักษะภาวะผู้นำและโอกาส 2 ด้าน คือ 1) ด้านนโยบายทางการศึกษา 2) ด้านเทคโนโลยีอุปสรรค 2 ด้าน คือ 1) ด้านทรัพยากรท้องถิ่น 2) ด้านวัฒนธรรมองค์กรและกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ดังนี้ กลยุทธ์เชิงรุก (SO) จำนวน 17 วิธีการพัฒนา กลยุทธ์สร้างภูมิคุ้มกัน (ST) จำนวน 7 วิธีการพัฒนาและกลยุทธ์เร่งพัฒนา (WO) จำนวน 12 วิธีการพัฒนาและมีการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้องและการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมาก และประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จของกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ อยู่ในระดับมาก
This research aimed to 1) study components of strategies for creating cooperative networks for school development under Buengkan Primary Educational Service Area Office, and 2) develop and validate strategies for creating cooperative networks for school development under Buengkan Primary Educational Service Area Office. The samples, obtained through multistage random sampling, were 140 school administrators under Buengkan Primary Educational Service Area Office in the academic year 2016. The research instruments included interview forms, questionnaires and assessment forms. Data analysis was done by means of statistical software programs.
The findings were as follows :
1. The components of strategies for creating cooperative networks for school development under Buengkan Primary Educational Service Area Office consisted of: 1) Determination of network members, 2) Determination of objectives, 3) Participation in work performance, 4) Leadership skills, 5) Network coordination, 6) Monitoring and evaluation, 7) Organizational culture, 8) Local resources, 9) Educational policy, and 10) Technologies.
2. The development and validation of strategies for creating cooperative networks for school development under Buengkan Primary Educational Service Area Office revealed that the strengths comprising three aspects: 1) Monitoring and evaluation 2) Determination of network members, and 3) Network coordination. The weaknesses of the developed strategies comprised three aspects: 1) Determination of objectives, 2) Participation in work performance, and 3) Leadership skills. The opportunities involved two aspects: 1) Educational policy, and 2) Technologies. The threats comprised two aspects: 1) Local resources, 2) Organizational culture. The strategies for creating cooperative networks for school development under Buengkan Primary Educational Service Area Office consisted of Proactive Strategy (SO) comprising 17 development methods; Building Security Strategy (ST) comprising 7 development methods, and Strategies to Accelerate Development (WO) comprising 12 development methods. The assessment which was carried out revealed a high level of appropriateness, feasibility, accuracy, and application. The evaluation also concluded that the indicators of success of strategies for creating cooperative networks was at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 102.03 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 1,869.23 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 60.90 KB |
4 | บทคัดย่อ | 141.64 KB |
5 | สารบัญ | 358.25 KB |
6 | บทที่ 1 | 249.39 KB |
7 | บทที่ 2 | 2,023.63 KB |
8 | บทที่ 3 | 494.86 KB |
9 | บทที่ 4 | 4,896.63 KB |
10 | บทที่ 5 | 333.47 KB |
11 | บรรณานุกรม | 322.05 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 3,806.17 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 4,375.10 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 1,742.19 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 362.46 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 1,006.43 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 113.46 KB |