ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Causal Relationship Model of Factors Affecting an Effectiveness of The Environmental Health Service System Development of the Local Administrative Organizations in the Northeast, Thailand
ผู้จัดทำ
ไพศาล ไกรรัตน์ รหัส 57632234111 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ดร.ปณิธี การสมดี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสร้างตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม 2) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างตัวแบบที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงปริมาณและหาอำนาจในการทำนาย และ 3) ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ นายกเทศมนตรีหรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 521 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มี 4 ปัจจัย ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำองค์การ ด้านสมรรถนะองค์การ ด้านแรงจูงใจในการทำงาน ด้านการมีส่วนร่วมองค์การ และเมื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ ส่วนภาพรวมของปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมคือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำองค์การ รองลงมาคือด้านสมรรถนะองค์การ ด้านแรงจูงใจในการทำงาน และด้านการมีส่วนร่วมองค์การ ตามลำดับ ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำตัวแบบไปใช้ในการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพต่อองค์กรต่อไป ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร และกำหนดนโยบายให้การพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่มีผลต่อคะแนนประเมินประสิทธิผลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างแรงจูงใจสามารถพัฒนางานอย่างเป็นระบบ และเกิดความยั่งยืน

Abstract

The purposes of this research were 1) to investigate and construct the causal relationship model of factors which affected the effectiveness of developing the environmental health service system, 2) to examine the consistency between yhe constructed model and its quantitative data as well as to find the prediction power of the model, 3) to provide policy proposals to develop the environmental service system of the local administrative organizations in the Northeast, Thailand. A mixed methods approach was employed for this study. Simple random sampling technique was adopted to gain 521  samples and these samples consisted of the mayors; permanent secretaries of the directors of the local administrative organizations; directors of environment and public health divisions; and environmental health practitioners/officers of local administrative organizations in the Northeast .  Through computer program, the statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson Product-Moment Correlation. The computer program was also used to analyze the linear structural relationship. The study unveiled that the effectiveness of an environmental health service system development was influenced by four factors: the organizational leadership, organizational competencies, work motivation, and organizational participation. When the consistency of the constructed model and its quantitative data had been examined, it was found that the model was consistent with the quantitative data. As a whole, the organizational leadership had the highest influence upon the effectiveness of the development of an environmental health service system. The second highest influence came from the organizational competencies. In the meantime work motivation and organizational participation had the third and fourth highest influence on the effectiveness of developing the environmental health service system. These results could be applied further by the local administrative organizations to increase their organizational effectiveness and efficiency of the environmental health service system. Of the policy proposals, it was recommended that the administrators’ organizational leadership should be developed and promoted. Likewise, to create sustainability, work motivation, and systematic development of the environmental health service system, the environmental health service system development should be established as an indicator of assessing the quality or an effectiveness of the local administrative organizations.

คำสำคัญ
ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Keywords
Causal relationship model, effectiveness of developing environmental health service system, local administrative organization
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 179.45 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 379.21 KB
3 ประกาศคุณูปการ 59.88 KB
4 บทคัดย่อ 106.00 KB
5 สารบัญ 125.25 KB
6 บทที่ 1 412.59 KB
7 บทที่ 2 2,176.92 KB
8 บทที่ 3 250.88 KB
9 บทที่ 4 822.02 KB
10 บทที่ 5 221.99 KB
11 บรรณานุกรม 371.96 KB
12 ภาคผนวก ก 7,024.49 KB
13 ภาคผนวก ข 4,038.17 KB
14 ภาคผนวก ค 188.41 KB
15 ภาคผนวก ง 471.43 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 74.06 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 เมษายน 2562 - 08:51:58
View 624 ครั้ง


^