ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
States, Problems and Success in Business Affairs of Schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area
ผู้จัดทำ
อ้อยทิพย์ สมกุล รหัส 58421229103 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ, ดร.ประภัสร สุภาสอน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบงานธุรการ และครูธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียนครูที่รับผิดชอบงานธุรการ และครูธุรการโรงเรียน จำแนกตามเพศ ขนาดโรงเรียนที่ปฏิบัติงานและสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ต่างกัน และ3) หาแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบงานธุรการ และครูธุรการโรงเรียน จาก 104 โรงเรียนได้มาโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test for Independent Samples)และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test แบบ One Way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า 

1. สภาพการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนครตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบงานธุรการ และครูธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากส่วนปัญหาการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อยและผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า งานพัสดุ งานการประสานงาน การติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ และการปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

3. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยที่มีตำแหน่งแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อสภาพการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันส่วนปัญหาการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า งานธุรการ งานสารบรรณ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน  ส่วนปัญหาการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมมีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่างานธุรการ งานสารบรรณ และงานประสานงาน การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานอื่นๆ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และผลสำเร็จในการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียน โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่างานพัสดุ งานประสานงาน การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานอื่นๆ มีความแตกต่างกัน ที่นัยสำคัญที่ .01

6. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการปฏิบัติงานธุรการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสกลนครด้านที่ควรพัฒนามี 4 งาน ประกอบด้วยงานธุรการ งานสารบรรณ งานพัสดุ งานข้อมูลสารสนเทศ

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate the states, problems and success in business affairs of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area; 2) compare the opinions of school directors, teachers in charge of school business affairs and clerical teachers classified by gender, work position, school size and different educational service area; and 3) establish appropriate guidelines for school performance in business affairs. The samples, obtained through multi-stage random sampling, consisted school directors, teachers in charge of school business affairs and clerical teachers from 104 schools. The research instrument used was a questionnaire with a reliability of 0.976. Statistics employed were percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Samples) and F-test (One – Way ANOVA) 

The findings were as follows:

1. The states of school performance in business affairs under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area as perceived by the participants were at a high level in the overall and individual aspect. In case of problems, school performance in business affairs was at a low level, whereas the success, as a whole and individual aspect, was at a high level.

2. The participants with different genders perceived that the states of school performance in business affairs, as a whole and individual aspect were not different. The problems, as a whole were statistically significant difference at the .05 level. When considered in each aspect, the procurement section, the section of coordination and communication with other organizations, and the performance of assigned tasks were statistically significant difference at the .05 level. The success of school performance in business affairs, as a whole was not different.

3. The participants with different work position perceived that the states of school performance in business affairs, as a whole and individual aspect were not different. The problems and the success, as a whole were not different. 

4. The participants with different school size perceived that the states of school performance in business affairs were not different in the overall and individual aspect. The problems, as a whole and individual aspect were not different. The success, as a whole was not different. When considered in each aspect, the business affairs section and the correspondence section were statistically significant difference at the .01 level.

5.The participants with different educational service area perceived that the states of school performance in business affairs were not different in the overall and individual aspect. The problems, as a whole were statistically significant different at the .05 level. When considered in each aspect, the business affairs, the correspondence section, the section of coordination and communication with other organizations were statistically significant different at the .05 level. The success, as a whole was statistically significant difference at the .05 level. When considered in each aspect, the procurement section, the section of coordination and communication with other organizations were statistically significant difference at the .01 level.

6. The appropriate guidelines for developing school performance in business affairs involved four sections: business affairs, correspondence, procurement and information.

คำสำคัญ
การปฏิบัติงานโรงเรียน, งานธุรการโรงเรียน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 205.04 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 548.18 KB
3 ประกาศคุณูปการ 106.65 KB
4 บทคัดย่อ 93.06 KB
5 สารบัญ 232.05 KB
6 บทที่ 1 279.01 KB
7 บทที่ 2 435.74 KB
8 บทที่ 3 395.38 KB
9 บทที่ 4 566.34 KB
10 บทที่ 5 310.42 KB
11 บรรณานุกรม 271.77 KB
12 ภาคผนวก ก 216.09 KB
13 ภาคผนวก ข 821.49 KB
14 ภาคผนวก ค 354.69 KB
15 ภาคผนวก ง 215.16 KB
16 ภาคผนวก จ 232.58 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 205.88 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 มกราคม 2561 - 13:58:15
View 551 ครั้ง


^