สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ โดยจำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียน หาความสัมพันธ์ และอำนาจพยากรณ์ระหว่างการควบคุมภายใน กับการบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 และหาแนวทางพัฒนาการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 68 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณ จำนวน 68 คน ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่การเงิน จำนวน 68 คน ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่พัสดุ จำนวน 68 คน ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมภายใน จำนวน 68 คน ปีการศึกษา 2559 รวมทั้งสิ้น 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการควบคุมภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่การเงิน ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่พัสดุ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมภายใน อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้าน
2. การบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบประมาณ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่การเงิน ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่พัสดุ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมภายในโดยรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการบริหารงานการเงิน อยู่ในระดับมากคือ ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์
3. ปัจจัยการควบคุมภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีสถานภาพต่างกันโดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
5. ปัจจัยการควบคุมภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. การบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. ปัจจัยการควบคุมภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่า ด้านการติดตามประเมินผล มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
8. การบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ที่มีขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
9. ปัจจัยการควบคุมภายใน และการบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
10. ปัจจัยการควบคุมภายในด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม และด้านการติดตามประเมินผล มีอำนาจพยากรณ์การบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์การบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษาร้อยละ 68.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± .26379
11. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยการควบคุมภายในและการบริหารงานงบประมาณโรงเรียนมัธยมศึกษา สภาพแวดล้อมของการควบคุม กิจกรรมควบคุม สารสนเทศและการสื่อสาร และการติดตามประเมินผล
The purposes of this research were to investigate, compare classified by status, experience and schools size and find out the relationship, predicting power for promoting the factors internal control affecting the budgeting management in secondary schools under the office of Secondary Educational Service Area 22 and find out guidelines for developing the factors internal control affecting the budgeting management in secondary school. The samples consisted of 68 schools administrators, 68 Head of the budget management, 68 Teachers financial duties, 68 Teachers act parcel, 68 teachers perform internal control a total of 340 participants from 68 school under the office of Secondary Educational Service Area 22 in the academic year 2016. The instrument used for collecting data was a set of 5 – level rating scale questionnaires developed by the researcher. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, One – Way ANOVA and stepwise multiple regression analysis.
The findings of this study were as follows:
1. The factors internal control in secondary schools in the opinions of the Management, Head of the budget management, Teachers financial duties, Teachers act parcel and Teachers perform internal control as a whole, were at the high level.
2. The budgeting management in secondary schools in the opinions of the Management, Head of the budget management, Teachers financial duties, Teachers act parcel and Teachers perform internal control were at the high level as a whole. And the highest level in the field of financial management, the high level of procurement and Asset Management.
3. The factors internal control in secondary schools in the opinions with different status, as a whole, differed significantly at the .01 level.
4. The budgeting management in secondary schools in the opinions with different status, as a whole, were not different.
5. The factors internal control in secondary schools in the opinions with difference experience status, as a whole, and each part is differed significantly at the .01 level.
6. The budgeting management in secondary schools in the opinions with difference experience status as a whole, and each part is differed significantly at the .01 level.
7. The factors internal control in secondary schools which is different size, as a whole, was not different. To consider each part, the monitoring differed significantly at the .05 level.
8. The budgeting management in secondary schools which are difference size, as a whole, was different, differed significantly at the .01 level.
9. The factors internal control and the budgeting management in secondary school, to be positive relationship, differed significantly at the .01 level.
10. The factors internal control which affects to the budgeting management in secondary schools, could predict the budgeting management in secondary school, that be information communication, control environment, and monitoring, differed significantly at the .01 level, consisted of percentage of prediction 68.10, and discrepancy of standard prediction ±.26379.
11. The researchers propose, that should have been promoted development of the factors internal control and the budgeting management in secondary schools, control environment, activities control, control activities, information communication, and monitoring.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 104.75 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 233.84 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 68.01 KB |
4 | บทคัดย่อ | 197.83 KB |
5 | สารบัญ | 71.27 KB |
6 | บทที่ 1 | 337.50 KB |
7 | บทที่ 2 | 803.11 KB |
8 | บทที่ 3 | 484.45 KB |
9 | บทที่ 4 | 971.67 KB |
10 | บทที่ 5 | 385.26 KB |
11 | บรรณานุกรม | 262.67 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 7,000.56 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 409.52 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 185.10 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 352.99 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 212.30 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 210.04 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 77.53 KB |