ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
Management Factors Affecting the Success of Distance Learning Information Technology ofSchools under the Office of Nakhon Phanom Educational Service Area 2
ผู้จัดทำ
ดิเรก ภาโสม รหัส 58421229215 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ดร.สุรพล บุญมีทองอยู่
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหาร 2) ศึกษาความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ค้นหาปัจจัยทางการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 5) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาความสัมพันธ์ คือ โรงเรียนตามโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวน 80 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย (ar{x} ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ส่วนการหาแนวทางพัฒนาใช้เทคนิคการศึกษาแบบพหุกรณี (Multi Case Studies) โดยการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรียน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยทางการบริหารที่เลือกมาศึกษาทุกปัจจัยมีการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก

2. ความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์กันทางบวกกับความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .01 ทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ทางบวก (rxy = 0.754) ส่วนปัจจัยทางการบริหารทั้ง 7 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน และความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้ง 4 ด้าน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ระดับ .01

4. ปัจจัยทางการบริหารที่มีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ นั้นมี 2 ปัจจัย เรียงตามลำดับการมีอำนาจพยากรณ์สูงสุดลงไปตามลำดับ คือ วัฒนธรรมในโรงเรียน รองลงมาคือ การทำงานเป็นทีม โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมได้ร้อยละ 59.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±0.1667 5. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหาร ตามความคิดเห็นของโรงเรียนที่มีระดับความสำเร็จสูงนั้นมีความสอดคล้องกับข้อค้นพบเชิงปริมาณและมีแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหาร ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ วัฒนธรรมในโรงเรียน และการทำงานเป็นทีม

Abstract

This research aimed to: 1) study the management factors, 2) examine the success of Distance Learning Information Technology (DLIT), 3) analyze the relationship between the management factors and the success of DLIT, 4) determinethe good predictors of the management factors which influenced the success of DLIT, and 5) establish the guidelines for developing management factors that were good predictors for school success in terms of DLIT. The samples were 80 schools listed in the DLIT projects. The instrument used for this study was a set of 5-point rating scale questionnaire. The data were analyzed through the percentage (%), standard deviation Pearson's Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression. The Multi Case Studies were also conducted to interviews with school personnelfor further establishing the development guidelines.

The findings of this research were as follows:

1. All selected management factors were operated at a high level.

2.The success of DLITwas at a high level.

3. The management factors had a positive relationship with the success of DLITat a statistical significance at the .01 level. In addition, all aspects had positive correlation (rxy = 0.754) at a high level. When considering of each aspect from seven management factors and the success of DLIT, there were four aspects found to be statistically significant at .01 level.

4. The two management factors were able to predict the success of DLIT, arranged in descending order of their predictive power: school culture, followed by teamwork. These factors were able to describe the variability of the success of DLIT as a whole at 59.40percent with standard errors of ± 0.1667.

5. The proposed guidelines for developing the management factors based on the perspectives of the schools with a high level of successwere consistent with the quantitative findings. The guidelines for developing management factors comprised two aspects: school culture and teamwork.

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหารการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Keywords
Management Factors, Distance Education Management throughIn formation mean, (S.D.), Technology
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 202.57 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 351.98 KB
3 ประกาศคุณูปการ 69.73 KB
4 บทคัดย่อ 195.37 KB
5 สารบัญ 332.92 KB
6 บทที่ 1 285.29 KB
7 บทที่ 2 2,266.14 KB
8 บทที่ 3 179.62 KB
9 บทที่ 4 685.94 KB
10 บทที่ 5 276.40 KB
11 บรรณานุกรม 309.66 KB
12 ภาคผนวก ก 124.69 KB
13 ภาคผนวก ข 318.58 KB
14 ภาคผนวก ค 301.98 KB
15 ภาคผนวก ง 318.19 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 95.82 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 มีนาคม 2562 - 11:17:03
View 814 ครั้ง


^