สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของครูโรงเรียนอนุบาลโพนนาแก้วสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของครูโรงเรียนอนุบาลโพนนาแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 และ 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของครูโรงเรียนอนุบาลโพนนาแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วย ผู้วิจัยและกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 9 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ พบว่า 1) สภาพการจัดกิจกรรม ครูผู้จัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จัดกิจกรรมยังไม่หลากหลาย ขาดการเชื่อมโยงความรู้จากสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 สาระสู่การจัดกิจกรรมที่ชัดเจน รวมถึงการออกแบบกิจกรรมยังมีความน่าสนใจน้อย 2) ครูขาดความสามารถการเขียนแผนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ขาดเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ยังไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านการออกแบบการจัดกิจกรรม ทำให้การเขียนแผนการจัดกิจกรรมยังไม่มีความสมบูรณ์ และ 3) ครูขาดความสามารถในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
2. แนวทางการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้โรงเรียนอนุบาลโพนนาแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ การศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนอนุบาลโพนนาแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้เพิ่มมากขึ้นหลังจากการศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการแล้วผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ครูสามารถจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to: 1) examine conditions and problems of the learning management on Moderate Class More Knowledge at Anubanphonnakaew School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, 2) examine the guidelines for developing teachers’ competence concerning the learning management of Moderate Class More Knowledge, and 3) follow up the effects after the intervention. The research methodology employed a two - spiral participatory action research, with each cycle comprising four stages of planning, action, observation and reflection. The target group comprised a researcher, nine co-researchers, and 50 informants. The research instruments were assessment forms, observation forms, interview forms, and written records. The quantitative data were analyzed by using mean and standard deviation. Content analysis was used to analyze the quantitative data, in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems of the learning management of Moderate Class More Knowledge at Anubanphonnakaew School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 revealed that: 1) In terms of conditions, teachers lacked knowledge and understanding in managing the learning activities. The instructions did not include a wide range of activities and transfer existing knowledge from the contents of eight subjects in order to develop a clear picture in terms of learning management. In addition, the design of the learning activities seemed less interesting; 2) In terms of problems, it was found that the teacher professional development in terms of learning activity design did not introduced so the written lesson plans appeared incomplete. They also lacked knowledge about teaching techniques; and 3) Teachers lacked ability to manage Moderate Class More Knowledge activities.
2. The proposed guidelines for developing teachers’ competence fell into three categories including: a study visit, a training workshop, and an internal supervision.
3. The effects after the intervention revealed that: 1) After a study visit, teachers gained knowledge and understanding in managing Moderate Class More Knowledge activities, as a whole at the highest level, 2) Teachers were able to write lesson plans, as a whole at a high level, and 3) Teachers employed the developed lesson plans into practice, as a whole at the highest level. The students and the student’s parents reported their satisfaction toward the developed activities, as a whole at the highest level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 86.62 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 354.35 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 70.94 KB |
4 | บทคัดย่อ | 115.29 KB |
5 | สารบัญ | 237.06 KB |
6 | บทที่ 1 | 389.55 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,476.04 KB |
8 | บทที่ 3 | 487.67 KB |
9 | บทที่ 4 | 988.06 KB |
10 | บทที่ 5 | 399.57 KB |
11 | บรรณานุกรม | 377.13 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 176.49 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 684.57 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 1,011.02 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 1,337.74 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 636.58 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 98.75 KB |