ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การประเมินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
AnEvaluationof Students’Public-Mindedness Development Project in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23
ผู้จัดทำ
ยุวดี คำเงิน รหัส 59421229110 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และหาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 329คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 55 คน ครูจำนวน 220 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 54 คน  โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) และใช้เกณฑ์กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 โดยใช้รูปแบบซิป โมเดล (CIPP Model) 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารครู และคณะกรรมการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับนโยบาย และเป้าหมายของโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23มีความพร้อมหรือเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีความเหมาะสมของการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีประสิทธิภาพของการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

5. แนวทางการพัฒนาการดำเนินโครงการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ควรนำไปพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ซึ่งผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางพัฒนาไว้แล้ว

Abstract

The purposes of this researchwere to evaluate the project for students’ public-mindedness development in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23 in terms of context, input, process, and product aspects, and to establish the guidelinesfor developing school operationon students’ public-mindedness improvementin schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23. Thesamples consisted of 329 participants, including 55 school administrators, 220 teachers and 54 school board committees. A multi-stage random sampling method and the sample criterion of Krejcie&Morgan were used in this research.The instrumentused for data collection was a set of questionnaires with areliability level of 0.98, concerning school operationofstudents’ public-mindedness development project. Thecontext, input, process and product (CIPP) evaluation model was employed. The 5-point Likert scale questionnaire contained the following scale points: very high, high, moderate, low, and very low. The statistics used for data analysis were percentage, mean and standard deviation. 

The research results were as follows:

1. Thecontext aspect as perceived by school administrators and teachers and school board committees revealed that the consistency of the project objectives with policies and goals was at a high level in overall.

2. The input aspect as perceived by school administrators and teachers and school board committees revealed that the project readiness or appropriateness was at a high level in overall.

3. The process aspectas perceived by school administrators, teachers and school board committees revealed that the project operation was appropriate at a high level in overall.

4. The product aspect as perceived by school administrators and teachers and school board committees revealed that the effectiveness of school project operation was at a high level in overall.

5. Theguidelines,as proposed by the researcher, comprising four aspects should be implementedfor school operation development on students’ public-mindedness in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23.

คำสำคัญ
การประเมินโครงการ, จิตสาธารณะของนักเรียน
Keywords
Project Evaluation, Students’ Public-Mindedness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 146.74 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 362.93 KB
3 ประกาศคุณูปการ 143.00 KB
4 บทคัดย่อ 107.32 KB
5 สารบัญ 220.89 KB
6 บทที่ 1 200.97 KB
7 บทที่ 2 979.48 KB
8 บทที่ 3 367.63 KB
9 บทที่ 4 410.46 KB
10 บทที่ 5 260.37 KB
11 บรรณานุกรม 341.58 KB
12 ภาคผนวก ก 857.07 KB
13 ภาคผนวก ข 247.69 KB
14 ภาคผนวก ค 267.39 KB
15 ภาคผนวก ง 187.54 KB
16 ภาคผนวก จ 246.91 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 83.07 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
27 มีนาคม 2562 - 13:25:06
View 1593 ครั้ง


^