สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบ และกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 248 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 49 คน หัวหน้าวิชาการ 49 คน ครูผู้สอน 101 คน และผู้ปกครอง 101 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการ 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับที่มีการเลือกปฏิบัติระหว่าง .24-.97 และความน่าเชื่อถือทางสถิติ .95 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละ t-test (Independent Samples), และ F-test (One way ANOVA).
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ในระดับมาก
2. ปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 อยู่ในระดับปานกลาง
3. สภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามสถานภาพไม่แตกต่างกัน
4. สภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ในด้านต่าง ๆ 5 ด้านคือ สภาพล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้ปกครอง
The purposes of this research were to investigate, compare, and establish the guidelines for developing kindergarten educational management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. The 248 samples consisted of 49 administrators, 49 heads of academic affairs, 101 teachers and 101 parents under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires with a discrimination between .24-.97 and a reliability of .95. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), and F-test (One way ANOVA).
The results of this research were as follows:
1. The states of kindergarten educational management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 was at the high level in overall.
2. The problems of kindergarten educational management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 was at the medium level in overall.
3. The states and problems of kindergarten educational management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 specified by status was not different.
4. The states and problems of kindergarten educational management in schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 specified by school size was significantly different at the .01 level in overall.
5. The environmental , the enhancing activity for students learning and development, the integrated learning, students learning and development assessment and the relationship between teachers and parents are 5 aspects of kindergarten educational management in schools should be developed and the researcher has proposed the guidelines for developing in this research.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 169.41 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 361.03 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 73.76 KB |
4 | บทคัดย่อ | 191.56 KB |
5 | สารบัญ | 156.71 KB |
6 | บทที่ 1 | 239.00 KB |
7 | บทที่ 2 | 732.74 KB |
8 | บทที่ 3 | 306.27 KB |
9 | บทที่ 4 | 954.44 KB |
10 | บทที่ 5 | 377.29 KB |
11 | บรรณานุกรม | 242.33 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 237.57 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 106.14 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 263.86 KB |
15 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 99.33 KB |