ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
The Development of Effective Student Affairs Management At SonthirajWittaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 22
ผู้จัดทำ
อดิศักดิ์ ก่ำเชียงคำ รหัส 59421229124 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ดร.ละม้าย กิตติพร, ดร.เทพรังสรรค์ จันทรังษี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาด้านการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 2) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผนพัฒนา (Planning) ขั้นปฏิบัติการ (Action) ขั้นการสังเกตการณ์ (Observation) ขั้นสะท้อนกลับ(Reflection) จำนวน 2 วงรอบกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นครูโรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบสอบถามและแบบสังเกต การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ร้อยละความก้าวหน้า และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอโดยความเรียง นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน โรงเรียนสนธิราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 เป็นดังนี้

1.1 สภาพ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน พบว่าในปีการศึกษา 2559 การดำเนินงานไม่เป็นระบบ ล่าช้า ขาดการวางแผนที่ชัดเจน และเป็นมาตรฐาน ครูขาดประสิทธิภาพ ดำเนินงานให้พอผ่านพ้นไป มีคำสั่งมอบหมายงานแต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดของวิธีการดำเนินงาน ไม่มีการติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ ขาดการประสานงานในการกระจายงานให้ครูในโรงเรียนได้ทำร่วมกัน เกณฑ์การประเมินงานกิจการนักเรียนไม่ชัดเจน ผลการปฏิบัติงานยังไม่ประสบความสำเร็จ ขาดคู่มือในการดำเนินงาน การให้คำปรึกษาแก่สภานักเรียนยังน้อย สภานักเรียนไม่ทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง

1.2 ปัญหา การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน พบว่า 1) ผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนไม่มีประสิทธิภาพและงานไม่เป็นระบบตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน 2) ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่งานกิจการนักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ตามขอบข่ายหน้าที่งานกิจการนักเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของโรงเรียน 3) ครูขาดการตระหนักถึงการปฏิบัติงานกิจการนักเรียนอย่างจริงจัง ปฏิบัติงานล่าช้า 4) ครูขาดประสบการณ์การปฏิบัติงาน และ 5) ครูขาดการศึกษาดูงานกิจการนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ

2. แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน ในวงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ 1) การศึกษาดูงาน 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การดำเนินงานการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียนตามมาตรฐาน 6 ด้าน 18 ตัวชี้วัด และ 4) การนิเทศ ติดตาม ในวงรอบที่ 2 ใช้การนิเทศ ติดตามแยกตามมาตรฐานที่ผลการดำเนินงานยังไม่ประสบผลสำเร็จ

3. ผลการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน พบว่าจากการดำเนินงาน ในวงรอบที่ 1 ตามแนวทางทั้ง 4 แนวทาง ผลการประเมินมาตรฐานด้านที่ 1, 2 และ 6 อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อดำเนินการทั้ง 2 วงรอบ จึงได้ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน จากการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย เข้าใจขอบข่ายและหน้าที่งานกิจการนักเรียนสามารถดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน ได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2552 ทั้ง 6 ด้าน 18 ตัวชี้วัด โดยผู้ร่วมวิจัยสามารถดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

Abstract

The purposes of this research were: 1) to investigate conditions and problems of student affairs management at SonthirajWittaya School under the Officeof Secondary Educational Service Area 22; 2) to establish the guidelines for developing the effectiveness of student affairs management; and 3) to study the effects after the intervention. The two-spiral participatory action research cycles comprising four stages-planning, action, observation, and reflection-was applied. The target group, obtained through a purposive sampling, consisted of 15 co-researchers working at SonthirajWittaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 22. The research instruments were a form of interview, a set of questionnaires, and a form of observation. Quantitative datawere analyzed by mean, percentage, percentage of progress and standard deviation. Content analysis was employed for qualitative data in forms of content classification and descriptive presentation.

The findings of this research were as follows:

1. The conditions and problems concerningthe development of effective student affairs managementrevealed that:

1.1 The conditions concerningthe effectiveness development of student affairs management found that in the 2017 academic year, the school operation wasunsystematic and delayed, due to lack of clear and standardized planning. In addition, the teachers did not perform the tasks effectively. The following issues were also found: Assigning thetaskswithoutdetailedinstruction, discontinuedfollow-up process, the absence of coordination providing opportunities for teachers to work together, unclear criterion for student affairs assessment, unsuccessful performance, and unavailability of operations handbook. In addition, the provision of guidance and advice for student council was limited. The student council members also did not understand their roles.

1.2 In terms of problems concerning the effectiveness of students’ affairs management, the results revealed that: 1) the school operation on student affairs was inefficient and unsystematic; 2) Teachers in charge of student affairs lacked knowledge and understanding their roles based on the scope of student affairs with school performance standards; 3) Teachers were not aware of which tasks impacted on student performance in regard to student affairs; 4) Teachers had noprior experience concerning student affairs management;  and 5) Teachers did not participate in professional development, such as effective best practice visits.  

2. The guidelines for developing the effectiveness of student affairs management in the first spiralcomprised four approaches: 1) a flied trip, 2) a workshop, 3) student affairs’ development in accordance with six standards and 18 indicators, and 4) a follow-up supervision. In the second spiral, supervisionwas carried out to identify the unsuccessful task standards.

3. The effects after the intervention showed that in the first spiral, the four proposed approaches according to the standard assessment 1, 2 and 6 were at a medium level. After the complete two spirals, all six standards were rated at a high level. The researcher and co-researchers gained understanding in regard to the scope and duties on student affairs. In addition, they were able to operate the effectiveness of student affairs management systemically, continuously and effectively covering the six standards and 18 indicators based on the performance standardsin secondary schools under the Office of the Basic EducationCommission, B.E. 2552

คำสำคัญ
การบริหารจัดการงานกิจการนักเรียน
Keywords
Student Affairs Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 136.77 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 639.28 KB
3 ประกาศคุณูปการ 96.84 KB
4 บทคัดย่อ 174.34 KB
5 สารบัญ 259.37 KB
6 บทที่ 1 306.49 KB
7 บทที่ 2 1,293.29 KB
8 บทที่ 3 338.26 KB
9 บทที่ 4 1,003.54 KB
10 บทที่ 5 285.88 KB
11 บรรณานุกรม 241.64 KB
12 ภาคผนวก ก 904.32 KB
13 ภาคผนวก ข 821.71 KB
14 ภาคผนวก ค 125.67 KB
15 ภาคผนวก ง 165.52 KB
16 ภาคผนวก จ 867.00 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 149.40 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 มีนาคม 2562 - 14:07:25
View 4096 ครั้ง


^