ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
Instructional Leadership of School Administrators Affecting Academic Affairs Effectiveness of Secondary Schools in Phnom Penh, the Kingdom of Cambodia
ผู้จัดทำ
ซันคิม ลอร์ รหัส 59421229226 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.สุรพล บุญมีทองอยู่
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสังกัดของโรงเรียนที่ต่างกัน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน และหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 370 คน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 74 คน และครูผู้สอนจำนวน 296 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านภาวะผู้นำทางวิชาการเท่ากับ 0.806 และด้านประสิทธิผลงานวิชาการเท่ากับ 0.949 และแบบสัมภาษณ์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบค่าเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก

3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ และสังกัดของโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ และสังกัดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร (X2) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (X5) ด้านการพัฒนาผู้เรียน (X3) ด้านการพัฒนาครู (X4) และด้านกำหนดเป้าหมาย และพันธกิจการเรียนรู้ (X1) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนได้ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน ได้ร้อยละ 55.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.294 สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้

Y´ = 0.889 + 0.172 X2 + 0.224 X5 + 0.143 X3 + 0.120 X4 + 0.094 X1

และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้

Z´ = 0.202 Zx2 + 0.250 Zx5 + 0.175 Zx3 + 0.146 Zx4 +0.109 Zx1

7. การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน เสนอแนะไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการกำหนดเป้าหมายและพันธกิจการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านพัฒนาครู และด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้

Abstract

The research aimed to study school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of school academic affairs, to compare the relationship between school administrators’ instructional leadership and the effectiveness of school academic affairs based on the opinions of school administrators and teachers classified by status, work experience and types of schools, to identify the predictive power of school administrators’ instructional leadership affecting the effectiveness of school academic affairs in secondary schools in Phnom Penh, the Kingdom of Cambodia; and to establish the guidelines for developing school administrators’ instructional leadership affecting the effectiveness of school academic affairs. The total sample of 370 persons consisted of 74 school administrators, and 296 school teachers. The instruments for data collection were a set of 5-level rating scale questionnaires with the reliability in terms of instructional leadership at 0.806 and the effectiveness of academic affairs at 0.949, and interview forms. Statistics for data analysis were mean, standard deviation Independent Samples t - test, F - test (One - Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results of this research were as follows:

1. Instructional leadership of school administrators as a whole and each aspect were at a high level in all aspects.

2. The effectiveness of school academic affairs as a whole and each aspect were at a high level in all aspects.

3. Instructional leadership of school administrators as perceived by school administrators and teachers, classified by status and different types of schools as a whole and each aspect showed no differences in all aspects, but there was a significant difference as a whole among those whose work experience were different at the .01 level of significance.

4 The effectiveness of school academic affairs as perceived by school administrators and teachers classified by status and different types of schools showed no differences as a whole, but there was a significant difference as a whole among those whose work experience were different at the .01 level of significance.

5. Instructional leadership of school administrators affecting academic effectiveness of secondary schools, as a whole had positive relationship at a high level with the statistical significance of the .01 level

6. Instructional leadership of school administrators comprised: Curriculum and instruction management (X2), Creating learning atmosphere (X5), Student development (X3), Teacher development (X4), and Setting goals and mission of learning (X1). The said factors were able to predict the effectiveness of school academic affairs with the predictive power of 55.10 percent and Standard Error of Estimate of ± 0.294.

The equation could be summarized in raw scores as follows;

Y´ =0.889 + 0.172 X2 +0.224 X5 + 0.143 X3 +0.120 X4 +0.094 X1

and the predictive equation standardized scores was

Z´= 0.202 Zx2 + 0.250Zx5 + 0.175Zx3 +0.146Zx4 +0.109 Zx1

7. The guidelines for developing instructional leadership of school administrators affecting the effectiveness of school academic affairs involved five aspects: Setting goals and mission of learning, Curriculum and instruction management, Student development, Teacher development, and creating learning atmosphere. 

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา
Keywords
Instructional Leadership, Academic Affairs Effectiveness of Secondary Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 94.08 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 52.40 KB
3 ประกาศคุณูปการ 71.29 KB
4 บทคัดย่อ 135.98 KB
5 สารบัญ 186.81 KB
6 บทที่ 1 318.53 KB
7 บทที่ 2 1,609.83 KB
8 บทที่ 3 602.06 KB
9 บทที่ 4 1,510.50 KB
10 บทที่ 5 517.92 KB
11 บรรณานุกรม 236.45 KB
12 ภาคผนวก ก 126.63 KB
13 ภาคผนวก ข 3,379.82 KB
14 ภาคผนวก ค 817.73 KB
15 ภาคผนวก ง 468.79 KB
16 ภาคผนวก จ 166.05 KB
17 ภาคผนวก ฉ 148.69 KB
18 ภาคผนวก ช 244.21 KB
19 ภาคผนวก ซ 401.56 KB
20 ประวัติย่อของผู้วิจัย 91.33 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 มีนาคม 2562 - 10:50:59
View 861 ครั้ง


^