ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่าน และเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
The Development of Learning Process Model for Improving Phatomsuksa I Student’s Literacy under Mukdahan Primary Education Service Area Office
ผู้จัดทำ
นิโลบล ทองวิเศษ รหัส 59421247132 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และระยะที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 280 คน โดยเก็บข้อมูลได้จริง จำนวน 254 คน คิดเป็นร้อยละ 91 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (ar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ส่งผล  ต่อการอ่านและเขียน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านหลักสูตรและการสอน 2) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียน ประกอบด้วย อ่านเขียนพยัญชนะให้ถูกต้อง แจกลูก สะกดคำ ฝึกอ่านและเขียน คัดลายมือ และ 3) ผลจากการแก้ปัญหาการอ่าน และเขียน ประกอบด้วย ความสามารถด้านการอ่านออก ความสามารถด้านการเขียนได้ทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย และความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

2. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีความเหมาะสมทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้   1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอ่านและเขียน 2) การจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการอ่านและเขียน และ 3) ผลจากการแก้ปัญหาการอ่านและเขียน ตามลำดับ

Abstract

This study aimed to develop and determine the appropriateness of learning process model for improving Phatomsuksa I student’s literacy under Mukdahan Primary Education Service Area Office. This study was divided into 2 phases. The model development from the opinion of 5 experts, selected through purposive sampling,   was conducted in the first phase. The second phase was the appropriateness assessment of the developed model. The sample group consisted of 280 teachers in schools under Mukdahan Primary Education Service Area Office, selected through multi-stage sampling. The returned responses used in this study were 254. A 5-level rating scales questionnaire was utilized in data collection with IOC value between 0.60-1.00. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation (S.D.)

The findings were as follows:

1. The results of the development of learning process model for improving Phatomsuksa I student’s literacy under Mukdahan Primary Education Service Area Office  comprised of 3 components on authentic assessment, namely 1) the factors affecting literacy, which were the students, related persons, environment and curriculum, and instruction, 2) the learning process to improve student’s literacy, which consisted of 5 steps including reading and writing alphabet, phonics, spelling, reading and writing exercise, and handwriting, 3) the literacy outcomes comprised of 1) pronunciation skill, 2) writing skill, 3) Thai reading and writing skill, and 4) Satisfaction.

2. The appropriateness of the developed learning process model for improving Phatomsuksa I student’s literacy under Mukdahan Primary Education Service Area Office was at high level. Ranking by most to least were as 1) the factors affecting literacy, 2) the learning process to improve student’s literacy, and 3) the literacy outcome.

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, การจัดกระบวนการเรียนรู้, การอ่านและเขียน
Keywords
Model Development, Learning Process, Literacy
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 144.60 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 479.02 KB
3 ประกาศคุณูปการ 114.73 KB
4 บทคัดย่อ 171.50 KB
5 สารบัญ 114.73 KB
6 บทที่ 1 345.05 KB
7 บทที่ 2 1,214.37 KB
8 บทที่ 3 821.90 KB
9 บทที่ 4 894.85 KB
10 บทที่ 5 436.19 KB
11 บรรณานุกรม 285.99 KB
12 ภาคผนวก ก 132.07 KB
13 ภาคผนวก ข 1,392.10 KB
14 ภาคผนวก ค 419.82 KB
15 ภาคผนวก ง 536.38 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 290.13 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
-
View 1223 ครั้ง


^