ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
Developing Morality and Ethics of Students in OBEC Moral Schools: A Case of Bannamad School under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 2
ผู้จัดทำ
อมรรัตน์ วงศ์ศรียา รหัส 60421229101 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.รัชฎาพร พิมพิชัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : โรงเรียนบ้านนาแมด 2) หาแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : โรงเรียนบ้านนาแมด 3) ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : โรงเรียนบ้านนาแมด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์ และขั้นสะท้อนผล โดยดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายมี 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 12 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 85 คน 3) กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ได้แก่ นักเรียน จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

อุบลราชธานี เขต 2

1.1 สภาพ คุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด พบว่า 1) ด้านความรับผิดชอบ นักเรียนบางส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ หลีกเลี่ยงงานที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ เช่น การทำความสะอาดเวรประจำวัน และบริเวณอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ไม่ส่งการบ้าน ไม่เก็บขยะ ไม่ช่วยผู้ปกครองทำงานบ้าน และขาดความรับผิดชอบในการทำงาน 2) ด้านความมีระเบียบวินัย พบว่านักเรียนบางส่วน ไม่แต่งกายตามระเบียบของโรงเรียนนักเรียนชายชอบเอาเสื้อออกนอกกางเกง ไม่เข้าแถวซื้อสินค้า ไม่เข้าแถวรับอาหารกลางวัน ไม่ทิ้งขยะลงในถังขยะ คุยกันเสียงดังเวลาร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร่วมกิจกรรมอื่น ๆ วางรองเท้าไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดินเป็นแถวเวลาเข้าชั้นเรียนและขึ้นรถกลับบ้าน 3) ด้านความมีจิตสาธารณะ พบว่านักเรียนบางส่วน ไม่ช่วยรักษาทรัพย์สินของส่วนรวมของโรงเรียน ไม่มีจิตสาธารณะเป็นต้น

1.2 ปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. :กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด จากการสังเกต และสอบถาม พบว่า 1) นักเรียนขาดคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรับผิดชอบ ขาดความมีระเบียบวินัย และขาดการมีจิตสาธารณะ 2) ครูและบุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจและทักษะ ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน

2. แนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด พัฒนาทั้ง 3 ด้าน ในวงรอบที่ 1 ใช้ 5 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) โครงงานคุณธรรม 2) กิจกรรมพี่แกนนำสอนน้องทำดี 3) กิจกรรมสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ 4) กิจกรรมอบรมจิตพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมวันสุดสัปดาห์และ 5) กิจกรรมพบพระพบธรรม ในวงรอบที่ 2 ใช้  4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) โครงงานคุณธรรม 2) กิจกรรมพี่แกนนำสอนน้องทำดี 3) กิจกรรมสอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ 4) กิจกรรมอบรมจิตพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมวันสุดสัปดาห์ โดยเชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้แก่นักเรียน

3. ผลการติดตามการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. : กรณีโรงเรียนบ้านนาแมด ในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ทำให้นักเรียนโรงเรียนบ้านนาแมด จำนวน 138 คน มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น มีระเบียบวินัยมากขึ้น และมีจิตสาธารณะมากขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study examine conditions and problems about students’ moral and ethics in the OBEC moral Moral schoolSchools, in a case of : Bannamad school School under the Office of Ubon Ratchathani  Primary Educational Service Area 2; 2) to establish the guidelines for developing students’ morality of students in the OBEC Moral School: Bannamad school and ethics; and 3) to follow up the effects after the intervention. . The research employed the two spirals of participatory action research process comprising four stages of planning, action, observation and reflection. The target group consisted of three groups: 1) 12 co-researchers; 2) 85 informants; and 3) the target group for development comprised comprising 138 students. The research instruments for data collection were an observation form, an interview form, and a set of questionnaires. Statistics used for data collection were percentage, mean and standard deviation. Content analysis presented in form of descriptive method.

The findings were as follows:

1. Conditions and problems of morality and ethics of students in the OBEC Moral Schoolss, in a case of Bannamad School under the Office of Ubon Ratchathani Primary Educational Service Area 2 revealed that:

1.1 The conditions of students’ morality and ethics can be categorized into three aspects as follows: 1) In terms of responsibility, some students demonstrated inappropriate behaviors, for example avoiding doing the assigned tasks, such as daily classroom cleaning duties, and assigned cleaning areas, not handing in homework, not picking up trash, not helping parents doing household chores, and being irresponsible with individual work; 2) In terms of discipline, some students did not follow the Code of Student Conduct, for example not tucking in their shirts, not queuing up when buying things or during lunch hour, not placing litter in the garbage bin, talking loudly during morning assembly and other school activities; not keeping shoes neatly by the door; not walking to classroom in a straight line to the class and vehicles; 3) In terms of public-mindedness, some students intended to cause damage to belongings and school property and did not demonstrate their public-mindedness.

1.2 The problems in terms of students’ morality and ethics resulting from observation and informal interviews revealed that: 1) Students lacked moral and ethics in terms of responsibilities, discipline and public-mindedness; and 2) Teachers and personnel lacked knowledge, understanding and skills to facilitate the development of their students’ morality and ethics.

2. The guidelines for improving three aspects of students’ morality and ethics in the OBEC moral schools, a case of Bannamad school were proposed. The first spiral of five activities was implemented, comprising: 1) The Moral Project; 2) Senior Student Leaders Lead Younger Students Doing Good Deeds; 3) Integration of Moral and Ethical Values into Curriculum of Learning Groups; 4) The End-of-Week Activity for Training Students’ Minds to Fostering Moral and Ethical Development; and 5) Listening to the Dhamma from Buddhist Monks. The second spiral employed four activities: 1) The Moral Project; 2) Senior Student Leaders Lead Younger Students Doing Good Deeds; 3) Integration of Moral and Ethical Values into Curriculum of Learning Groups; 4) The End-of-Week Activity for Training Students’ Minds to Foster Moral and Ethical Development. External experts were invited to deliver knowledge concerning students’ moral and ethical development.

3. The effects from the follow-up session revealed that the moral and ethical development of 138 students in the first and second spirals helped the students  improve their responsibilities, discipline, and public mindedness
.

คำสำคัญ
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน, โรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
Keywords
Students’ Morality and Ethical Development, OBEC Moral Schools
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 145.92 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 758.75 KB
3 ประกาศคุณูปการ 94.23 KB
4 บทคัดย่อ 197.49 KB
5 สารบัญ 340.84 KB
6 บทที่ 1 552.39 KB
7 บทที่ 2 2,184.63 KB
8 บทที่ 3 521.85 KB
9 บทที่ 4 3,679.74 KB
10 บทที่ 5 513.35 KB
11 บรรณานุกรม 456.72 KB
12 ภาคผนวก ก 187.25 KB
13 ภาคผนวก ข 1,508.75 KB
14 ภาคผนวก ค 1,451.80 KB
15 ภาคผนวก ง 878.59 KB
16 ภาคผนวก จ 1,984.62 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 127.35 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 สิงหาคม 2562 - 09:14:53
View 3888 ครั้ง


^