สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูปฏิบัติหน้าที่การเงิน ครูปฏิบัติหน้าที่พัสดุและครูผู้สอน ปีการศึกษา2561 จำนวน 340 คน จาก 85 โรงเรียน ได้มาโดยใช้ การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบใช้สัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ผู้บริหาร 85 คน ครูปฏิบัติหน้าที่การเงิน 85 คน ครูปฏิบัติหน้าที่พัสดุ 85 คนและครูผู้สอน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 สภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.995 ด้านที่ 2 ปัญหาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.987 ด้านที่ 3 ประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ F-test (One – Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม อยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการบริหารงานงบประมาณอยู่ในระดับน้อย และประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณอยู่ในระดับมาก
2. สภาพ การบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูปฏิบัติหน้าที่การเงิน ครูปฏิบัติหน้าที่พัสดุ ครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านปัญหา และประสิทธิผล โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. สภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูปฏิบัติหน้าที่การเงิน ครูปฏิบัติหน้าที่พัสดุ ครูผู้สอนจำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่งโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านปัญหาและประสิทธิผล โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. สภาพการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูปฏิบัติหน้าที่การเงิน ครูปฏิบัติหน้าที่พัสดุ ครูผู้สอนจำแนกตามโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ด้านปัญหาโดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านประสิทธิผล โดยรวมและรายด้านมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางในการยกระดับประสิทธิผลการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียน ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดทำและเสนอของบประมาณ ด้านการจัดสรรงบประมาณ ด้านการตรวจสอบติดตาม ประเมินผล การรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการเงิน ด้านการบริหารการบัญชี ควรมีการ ประชุม ชี้แจงให้บุคลากรทุกคนรับทราบ จัดทำคู่มือและศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานงบประมาณ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานงบประมาณให้มีความรู้ความเข้าใจ มีการนิเทศ กำกับติดตาม ตรวจสอบด้วยความโปร่งใส รอบคอบในการบริหารงานงบประมาณ
The purposes of this research were to examine conditions, problems and effectiveness of budget administration in schools under the Office of Primary Educational Service Area in Nakhon Phanom Province. The samples obtained through proportional stratified random sampling consisting of 85 administrators, 85 finance teachers, 85 procurement teachers, and 85 teachers, yielding a total of 340 participants from 85 schools in the academic year of 2018. The instrument for data collection was a rating scale questionnaire comprising three aspects as follows: 1) Conditions of school budget administration with a reliability of 0.995, 2) Problems of school budget administration with the reliability of 0.987, and 3) Effectiveness of school budget administration with the reliability of 0.986. Statistics used for data collection were average, percentage, standard deviation. The hypothesis testing was conducted using F-test (One – Way ANOVA) analysis.
The findings were as follows:
1. Conditions of budget administration in schools under the Office of Primary Educational Service Area in Nakhon Phanom Province were at a moderate level, whereas the problems were at a low level. The effectiveness of budget administration were at a high level.
2. Conditions of school budget administration as perceived by administrators, finance teachers, procurement teachers, and teachers, classified by status as a whole showed no difference. When considering in each aspect, there was different at the .01 level of significance, whereas problems and effectiveness as a whole and each aspect were different at the .01 level of significance.
3. Conditions of school budget administration as perceived by administrators, finance teachers, procurement teachers, and teachers, classified by work experience as a whole showed no difference. When considering in each aspect, there was different at the .01 level of significance, where as problems and effectiveness as a whole and each aspect were different at the .01 level of significance.
4. Conditions of school budget administration as perceived by administrators, finance teachers, procurement teachers, and teachers from school sized as a whole and each aspect showed no difference. Problems as perceived by participants as a whole and each aspect were different at the .01 level of significance, whereas effectiveness as a whole and each aspect were different at the .05 level of significance
5. This research proposed the guidelines for improving the effectiveness of school budget administration involving six aspects as follows; budget preparation and request aspect, budget allocation aspect, monitoring, evaluation, financial report and operational outcomes aspect, resources mobilization and investment for education, financial administration, and accounting administration. The following operating activities should include personnel meetings to ensure that personnel acknowledged the school’s financial status, creation of handbooks and school visits for best practice in budgeting administration. Stakeholders must be given budget administration training to gain better knowledge and understanding. The supervisory and monitoring on budget administration should be carried out in a transparent and careful manner.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 103.01 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 612.57 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 82.95 KB |
4 | สารบัญ | 326.43 KB |
5 | บทที่ 1 | 330.22 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,103.73 KB |
7 | บทที่ 3 | 360.40 KB |
8 | บทที่ 4 | 1,864.48 KB |
9 | บทที่ 5 | 348.30 KB |
10 | บรรณานุกรม | 192.66 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 152.73 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 7,042.68 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 495.17 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 692.74 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 109.17 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 111.75 KB |