สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานีและเพื่อเปรียบเทียบสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด และเพื่อหาแนวทางยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาและครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 323 คน ประกอบด้วย ปลัดเทศบาล/ปลัดอบต. จำนวน 46 คน ผู้อำนวยกองการศึกษาหรือผู้รักษาการแทน จำนวน 46 คน นักวิชาการศึกษา จำนวน 31 คน และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ด้านสภาพมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.56-0.90, ด้านปัญหา มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.94 ทุกข้อด้านประสิทธิผลการดำเนินงานมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.59-0.94 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในแต่ละส่วนมีค่าเท่ากัน คือ .99สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)และสถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ตามความคิดเห็นของปลัดเทศบาล/ปลัดอบต.ผู้อำนวยการกองการศึกษา นักวิชาการศึกษา และครูผู้ดูแลเด็ก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการดำเนินงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่งวุฒิการศึกษาหน่วยงานต้นสังกัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง วุฒิการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามความคิดเห็นของบุคลากร จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง วุฒิการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด โดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. แนวทางยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุดรธานีจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านบุคลากรมีดังนี้1.1) การส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษาได้เข้ารับการอบรม ฝึกประสบการณ์ เพื่อให้มีความชำนาญ เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง1.2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้มีความยืดหยุ่นมุ่งเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง และมีการวางแผนจัดชั้นเรียนให้มีความเหมาะสม1.3) การวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการกำกับ นิเทศ ติดตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และ 2) ด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยมีดังนี้ 2.1)การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.2) การจัดบริเวณสนามเด็กเล่นกลางแจ้งเป็นระเบียบ สวยงาม และปลอดภัย 2.3) การจัดให้มีห้องโสตทัศนศึกษาและ ซื้อเครื่องเล่นสนามใหม่ให้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
The purposes of this research were: toexamine conditions, problems and operationaleffectiveness of Child Development Centers as perceived by personnel under the Local Administrative Organization (LAO) in Udonthani Province; to compare conditions, problems and operational effectiveness, classified by position, education level, and individual organization; and to establish the guidelines for improving operational effectiveness. The samples were education personneland teachers working at Child Development Centers under the LAO in Udonthani Province, yielding a total of 323 people, consisting of 46 Municipal Clerks/Chief Administrators of the Subdistrict Administrative Organization (SAO), 46 Directors of Education Division or Acting Directors, 31 educators, and 200 teachers.The research instrument for data collection was a set of questionnaires containing conditions, problems and operational effectiveness of Child Development Centers under the LAO in Udonthani. Thediscriminative power of all parts were determined ranging respectively from 0.56 to 0.90,0.94, from 0.59to 0.94. Thereliability was .99 in all parts. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean (), standard deviation (S.D.), One-Way ANOVA, and t-test for Independent Samples.
The findings were as follows:
1. The conditions and operationaleffectiveness of Child Care Centers under the LAO in Udonthani Province as perceived by Municipal Clerks/Chief Administrators of the Subdistrict Administrative Organization (SAO), Directors of Education Division, educators, and teachers, as a whole at a high level. The operational problems as a whole and each aspect were at a low level.
2. The comparison results of the operational conditions of Child Development Centersas perceived bypersonnel, classified by position, education level, and individual organization were not different in overall.
3. The comparison results in terms of operational problems, as perceived by personnel, classified by position, educational level, and individual organization, were not different in overall.
4. The comparison results in terms of operational effectiveness as perceived by personnel, classified by position, educational level and individual organization were not different in overall.
5. Theproposed guidelines for improving operational effectiveness of Child Development Centers under the LAOin UdonthaniProvince were drawn from the experts’ interviews, including two aspects as follows: 1) Personnelinvolved:1.1)Providing learning opportunities for education personnel in terms of training and practical experience to gainexpertise in instructional practices and learning experience management, and to be engaged in self-development; 1.2)Managing flexible learning experience, with the focus ofthe learner-centered approach,and implementing appropriate classroom management plans; 1.3) Improving student development through ongoing measurement and evaluation, including supervision and follow-up the learning experience management of teachers on an ongoing and systematic basis; and 2) Building, environment and safety involved: 2.1)Allocating adequate budget for building and environment management of Child Development Centers; 2.2)Creating beautiful, safe and well-organized outdoor playgrounds; 2.3) Providing audio-visual education room and new playground equipment for all Child Development Centers to facilitate child development.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 154.01 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 1,800.30 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 134.80 KB |
4 | บทคัดย่อ | 145.51 KB |
5 | สารบัญ | 188.08 KB |
6 | บทที่ 1 | 289.69 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,056.10 KB |
8 | บทที่ 3 | 344.69 KB |
9 | บทที่ 4 | 786.36 KB |
10 | บทที่ 5 | 300.38 KB |
11 | บรรณานุกรม | 257.61 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 133.79 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 753.00 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 299.51 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 219.14 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 187.54 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 123.18 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 115.51 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 234.76 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 164.31 KB |