ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับครูโรงเรียนบ้านบ่อพนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Development of a School-Based Teacher Training Curriculum to Promote Classroom Action Research for Teachers at Ban Bo Phana School under Office of Bueng Kan Primary Education Service Area
ผู้จัดทำ
อุทัย อินทะนาม รหัส 533JCe213 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, ดร.พจมาน ชำนาญกิจ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูดำเนินการพัฒนาหลักสูตร 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างทีมงานวิจัย ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ขั้นที่ 3 วางแผนออกแบบและยกร่างหลักสูตร ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการนำใช้หลักสูตรฝึกอบรม และขั้นที่ 5 ประเมินผลการใช้หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู จำนวน 6 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินความสามารถในการทำวิจัย แบบวัดเจตคติ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ The Wilcoxon Matched Paired Signed-Rank Test 

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหา พบว่าครูขาดความรู้ในการวางแผนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การวิเคราะห์ปัญหา การสร้างเครื่องมือในการวิจัย การสรุปผล และการเขียนรายงานการวิจัย ผลการสำรวจความต้องการในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า ครูต้องการที่จะพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนทั้งด้านความรู้ และกระบวนการวิจัย  

2. หลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ชื่อหลักสูตร 2) ที่มาและความสำคัญ 3) หลักการของหลักสูตร 4) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 5) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 6) กระบวนการฝึกอบรม และ 7) แนวทางการวัดและประเมินผล

3. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า 

3.1 ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูหลังการใช้หลักสูตร สูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร และมีความรู้ก้าวหน้าผ่านเกณฑ์ดัชนีความก้าวหน้าที่ตั้งไว้ที่ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป

3.2 ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

3.3 ความสามารถทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูหลังการใช้หลักสูตร ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 

3.4 เจตคติเกี่ยวกับการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูหลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.5 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรมครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.40, S.D. = 0.28)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate the current problem state and need in doing classroom action research, 2) to develop a school-based teacher training curriculum to promote classroom action research, 3) to examine the results of implementing the school-based teacher training curriculum to promote classroom action research. This author carried on a curriculum development into 5 steps: step 1 – create a research team, step 2 – investigate the current problem state and need of promoting doing classroom action research, step 3 – plan and design a training curriculum and make a draft of it, step 4 – operate in bringing the training curriculum to use and step 5 – assess the training curriculum implementation. The target group comprised 6 teachers. The instruments used in study were a test of knowledge and understanding, a form for assessing ability in doing research, a form for measuring attitude, and a form for assessing satisfaction. Statistics used were percentage, mean, standard deviation and the Wilcoxon Matched Paired Signed-Rank Test.

Findings of the study disclosed as follows:

1. The current problem state was found that teachers lacked knowledge in planning classroom action research, analyzing the problem, creating research instruments, making a conclusion, and writing a research report. From the survey of need in classroom action research, it was found that all teachers would like to get developed in order to have knowledge and understanding about classroom action research in the aspects of both knowledge and research process.

2. The school-based teacher training curriculum for promotion of doing classroom action research comprised 7 components: 1) title of the curriculum, 2) the origin and significance, 3) principles of the curriculum, 4) objectives of the curriculum, 5) curriculum content structure, 6) process of training, and 7) guideline for assessment and evaluation.

3. The results of implementing the school-based teacher training curriculum to promote classroom action research were as follows:

3.1 Knowledge about classroom action research of teachers after implementation of the curriculum was higher than that before implementation and there was progressive knowledge passing the progressive index which was set at least 50% or over.

3.2 Knowledge about classroom action research of teachers after implementation of the curriculum was significantly higher than that before implementation at the .05 level.

3.3 Ability about classroom action research of teachers after implementation of the curriculum passed the criterion set at 70% of the full score.

3.4 Attitude toward classroom action research of teachers after implementation of the curriculum was significantly higher than that before implementation at the .05 level.

3.5 Teachers satisfaction with school-based training to promote doing classroom action research was at high level (X̅ = 4.40, S.D. = 0.28).

คำสำคัญ
หลักสูตรฝึกอบรม, โรงเรียนเป็นฐาน, การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 63.43 KB
2 ประกาศคุณูปการ 33.82 KB
3 บทคัดย่อ 56.78 KB
4 สารบัญ 86.84 KB
5 บทที่ 1 106.64 KB
6 บทที่ 2 769.63 KB
7 บทที่ 3 88.15 KB
8 บทที่ 4 815.95 KB
9 บทที่ 5 126.06 KB
10 บรรณานุกรม 140.70 KB
11 ภาคผนวก ก 38.87 KB
12 ภาคผนวก ข 647.87 KB
13 ภาคผนวก ข 83.06 KB
14 ภาคผนวก ค 111.88 KB
15 ภาคผนวก จ 823.14 KB
16 ภาคผนวก ฉ 275.58 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 35.71 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 ธันวาคม 2560 - 12:38:41
View 1611 ครั้ง


^