สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีความแตกต่างกันในด้านสถานภาพ และประสบการณ์ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 122 คน ครูผู้สอน 199 คน รวมทั้งสิ้น 321 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์อย่างง่าย (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโดยรวมไม่แตกต่างกัน
5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
6. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
7. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
8. ผลการวิเคราะห์สมการพยากรณ์ระหว่าง ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 พบว่า มี 1 ด้านพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน คือด้านเป็นผู้ประสานงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
9. นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ด้านเป็นผู้ประสานงาน
The purposes of this research were to investigate and compare instructional leadership of administrators affecting on academic affairs management of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, as perceived by school administrators and teachers with different status and work experience. The total sample size was 321 with 122 school administrators and 199 teachers. The tool used for data collection was a set of questionnaires. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), One-Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings of this research were as follows:
1. The instructional leadership of school administrators under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, as a whole was at a high level.
2. The effectiveness of academic affairs management of schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, as a whole was at a high level.
3. The instructional leadership of school administrators under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, as perceived by school administrators and teachers, as a whole was not different.
4. The effectiveness of school academic affairs management under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, as perceived by school administrators and teachers, as a whole was not different.
5. The instructional leadership of school administrators under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, as perceived by school administrators and teachers with different work experiences, as a whole was not different.
6. The effectiveness of school academic affairs management under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, as perceived by school administrators and teachers with different work experiences, as a whole was not different.
7. The instructional leadership of school administrators and academic affairs management under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, had a positive correlation at the .01 level of statistical significance.
8. The results from the prediction equation analysis between instructional leadership of school administrators and the effectiveness of school academic affairs management under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, revealed that only one aspect of instructional leadership in terms of being a coordinator could predict the effectiveness of school academic affairs management at the .01 level of statistical significance.
9. The guidelines for developing instructional leadership of school administrators in terms of being a coordinator were proposed.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 69.52 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 358.63 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 74.19 KB |
4 | บทคัดย่อ | 99.99 KB |
5 | สารบัญ | 124.26 KB |
6 | บทที่ 1 | 149.38 KB |
7 | บทที่ 2 | 286.26 KB |
8 | บทที่ 3 | 192.92 KB |
9 | บทที่ 4 | 398.82 KB |
10 | บทที่ 5 | 142.92 KB |
11 | บรรณานุกรม | 118.85 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 340.87 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 177.11 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 105.95 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 117.92 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 79.35 KB |