ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสกลทวาปี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
Development of the Teachers’ Potential on Learning Management Application to Enhance the Students’ Analytical Thinking Skills at Sakonthawapi School under the Office of Sakon Nakhon Provincial Administration Organization
ผู้จัดทำ
สงกรานต์ คำบึงกลาง รหัส 55421229303 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.หาญชัย อัมภาผล, ดร.อนุรักษ์ อุปพงษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน3)ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสกลทวาปี  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ปีการศึกษา 2556 จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 12คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 56คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ(Action ) การสังเกตการณ์(Observaton)และการสะท้อนกลับ(Reflection) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบทดสอบแบบสอบถามแบบสังเกตพฤติกรรม และแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ โดยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยการหาค่า IOCมีค่าอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.ผลการศึกสภาพและปัญหาของผู้ร่วมวิจัย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนพบว่า

1.1 สภาพในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนพบว่า ครูทุกคนมีความชำนาญและมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดี ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลางครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนทุกกลุ่มสาระ แต่กิจกรรมดังกล่าวจัดไม่เป็นระบบ ขาดความสม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่อง ไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน สื่อและเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่เหมาะสมและมีจำนวนจำกัด ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ ผู้เรียนมีส่วนร่วมน้อย ระบบนิเทศภายในขาดความต่อเนื่อง ครูตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ แต่ครูไม่ทราบแนวทาง หรือขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และครูมีความต้องการพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

1.2  ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนพบว่า ครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทฤษฎี หลักการ แนวคิดสำคัญของการคิดวิเคราะห์ รวมถึงการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอน วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้  ตลอดจนบทบาทของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ทำให้ครูขาดความมั่นใจและประสบปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน นักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

2. แนวทางพัฒนาศักยภาพครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในวงรอบที่ 1 ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายในและ ในวงรอบที่ 2 ใช้รูปแบบการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

3. ผลการติดตามการพัฒนาศักยภาพครู ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยใช้การพัฒนา 2 วงรอบ ของผู้ร่วมวิจัยทั้ง 12คนพบว่า 1)มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น โดยมีร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 792)ครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็น สามารถจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนสกลทวาปีได้ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โรงเรียนสกลทวาปี อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate the states and problems on the learning management application to enhance the students’analytical thinking skills at Sakonthawapi School under the Office of Sakon Nakhon Provincial Administration Organization,  2) find out the guidelines for the teachers’ development of learning management competence emphasizing on the students’ analytical thinking skills  3) follow upthe teachers’ potential development on managing learning activities with an emphasis on analytical thinking skills. The target groupconsisted of the school administrator, teachers, students and parents/guardians at Sakonthawapi School  in the academic year 2013 classified into 2 groups: 12 co-researchers and 56 Informants. This research employed four-stage action research consisting of planning,action, observation and reflection. The instruments used were a test, a set of questionnaires, a form of behavior observation and a form of lesson plan assessment. The accuracy in the content by the IOC to be between 0.80 to 1.00. Content analysis was applied and the statistics used for dataanalysis were mean, percentage and standard deviation.

The findings of the study were as follows:

1. The investigation of the states and problems on the co-researchers’ learningmanagement focusing on the students’ thinking process skills showed that:

1.1  The states of the learning management focusing on the students’ analytical thinking revealed that all teachers obtained knowledge and understanding  in learning management  with an emphasis on the students’ analytical thinking  at the moderate level. The teachers conducted learning activities focusing on analytical thinking among the students in every learning substance. However, these activities lacked system, regularity, and continuity,certain objectives and media and technologies applied  for the application of learning activities  which were inappropriate and  limited. The period of time spent for the learning activity application was quite short. The learners were allowed toparticipate at a low degree. The internal supervision system lacked continuity.The teachers were aware for and paid attention to the importance of the application of learning management emphasizing on analytical thinking. The teachers did not know the guidelines and/or stages of learning management to develop analytical thinking . However, the teachers wanted to develop themselves in applying learning activities in order to develop analytical thinking in general at the highest level.

1.2  In case of the problems onthe learning management of the teachers, it was found that the teachers faced a lack ofknowledge, understanding and skills on the students’ analytical thinking, theories, principles, ideas on analytical thinking as well as the writing of lesson plans , learning measurement and evaluation and the teachers’ roles in learning management in order to develop skills on analytical thinking. This made the teachers lack confidence and met problems on learning application focusing on analytical thinking among the students. The students were not developed with skills on analytical thinking at full capacity affecting the students’ learning achievements to be under the standard criteria.

2. The guidelines for developing the teachers’ potential on learning management with afocus on the students’ analytical thinking skills were composed of 1) a workshop 2) internal supervision in the first spiral.  In the second spiral,coaching supervision was applied.

3. The effects of monitoring the development of the teachers’ competence on learning management with anemphasis on the students’ analytical thinking skillsthrough the 2 spirals  revealed thatthe 12 co-researchersgainedbetter knowledge and understanding in learning application  focusing on the students’ increasing analytical thinking skillswith Percentage of Progress of 79. The teachers could write the lesson plans and were able to manage learning to develop analytical thinking of the students at the highest level. The additional informants were satisfied with the learning management focusing on analytical thinking among the students at the highest level.

คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การคิดวิเคราะห์, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Keywords
Teachers’ Potential Development, Analytical Thinking, Action Research
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 131.00 KB
2 ประกาศคุณูปการ 97.81 KB
3 บทคัดย่อ 130.76 KB
4 สารบัญ 177.51 KB
5 บทที่ 1 279.48 KB
6 บทที่ 2 1,307.32 KB
7 บทที่ 3 4,140.86 KB
8 บทที่ 4 21,719.40 KB
9 บทที่ 5 361.41 KB
10 บรรณานุกรม 272.66 KB
11 ภาคผนวก ก 20,124.69 KB
12 ภาคผนวก ข 100.33 KB
13 ภาคผนวก ค 86.58 KB
14 ภาคผนวก ง 79.78 KB
15 ภาคผนวก จ 2,837.14 KB
16 ภาคผนวก ฉ 1,377.08 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 59.17 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 เมษายน 2562 - 10:27:26
View 649 ครั้ง


^