ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
A Model for Developing Creative Leadership for Primary School Teachers under the Office of the Basic Education Commission in the Upper Northeast Region
ผู้จัดทำ
รัษฎากร อัครจันทร์ รหัส 55620232105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบหลัก  องค์ประกอบย่อยและตัวชี้วัด  ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา  3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา  โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ  คือ  ระยะที่ 1 ศึกษารูปแบบและกำหนดองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู  โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิและการวิจัยเชิงสำรวจ  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  ครูผู้สอนในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  ปีการศึกษา 2557 จำนวน 379 คน  ระยะที่ 2 จัดทำรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู  และยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ  และระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร  เขต 3 จำนวน 14 คน  จาก 9 โรงเรียน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง  แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) แบบประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย  พบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 13 องค์ประกอบย่อย 63 ตัวบ่งชี้  ดังนี้ 1) การมีวิสัยทัศน์  มี 3 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้ 2) การมีจินตนาการ  มี 2 องค์ประกอบย่อย 12 ตัวบ่งชี้ 3) การมีแรงจูงใจ  มี 2 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้ 4) ความยืดหยุ่นมี 2 องค์ประกอบย่อย 9 ตัวบ่งชี้ 5) ความสามารถในการแก้ปัญหา  มี 2 องค์ประกอบย่อย 10 ตัวบ่งชี้  และ 6) การปฏิบัติสู่เป้าหมาย  มี 3 องค์ประกอบย่อย 10 ตัวบ่งชี้

2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา  ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) ความมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ  5) สื่อ/แหล่งเรียนรู้  และ 6) การวัดและประเมินผล

3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา  พบว่า  รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา  มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และครูผู้สอนในสถานศึกษาที่เข้ารับการพัฒนามีดัชนีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ 38.77

Abstract

The purposes of this research were to 1) study the components, sub-components and indicators for creative leadership of primary school teachers under the Office of the Basic Education Commission in the Upper Northeast region,    2) establish and develop a model for developing creative leadership of primary school teachers, and 3) validate the effectiveness of the developed model. This research employed a research and development approach which was performed in three phases: Phase I: was related to examining models and components of creative leadership for teachers based on document analysis, experts’ in-depth interviews and a survey research. The samples were 379 teachers working in schools under the Office of Basic Education Commission in the Upper Northeast region in the 2014 academic year; Phase II: Model revision and confirmation based on the experts’ reviews; and in Phase III, a model implementation was conducted with 14 primary school teachers from nine primary schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Area 3. The research instruments included an unstructured interview form,  a set of rating scale questionnaires, and a creative leadership assessment form. Data were analyzed through frequency, percentage, means and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The components of creative leadership for primary school teachers involved six components with 13 sub-components and 63 indicators: 1) Vision comprising three sub-components and 12 indicators; 2) Imagination comprising two sub-components and 12 indicators; 3) Inspiration comprising two sub-components and nine indicators; 4) Flexible comprising two sub-components and nine indicators; 5) Problem-solving ability comprising  two sub-components and ten indicators; and   6) Performance toward Achieving Goals comprising three sub-components and ten indicators.

2. The model for developing creative leadership of primary school teachers involved six components: 1) principles, 2) objectives, 3) contents,    4) development processes, 5) media and learning resources, and 6) measurement  and evaluation.         

3. The effectiveness of the model for developing creative leadership of primary school teachers revealed that the developed model, as a whole, had its appropriateness at the highest level (X̅= 4.81). The participating teachers reported   a level of progress index in terms of creative leadership at 38.77 percent.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครู, รูปแบบการพัฒนา
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 79.65 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 65.11 KB
3 ประกาศคุณูปการ 68.74 KB
4 บทคัดย่อ 200.62 KB
5 สารบัญ 235.62 KB
6 บทที่ 1 279.04 KB
7 บทที่ 2 1,610.09 KB
8 บทที่ 3 450.96 KB
9 บทที่ 4 934.45 KB
10 บทที่ 5 527.50 KB
11 บรรณานุกรม 363.06 KB
12 ภาคผนวก ก 508.06 KB
13 ภาคผนวก ข 2,245.26 KB
14 ภาคผนวก ค 272.19 KB
15 ภาคผนวก ง 1,362.50 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 153.54 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
14 ธันวาคม 2560 - 12:19:34
View 3388 ครั้ง


^