สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การบริหาร โดยใช้ภาวะผู้นำทางการศึกษาซึ่งได้แก่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำวิชาการ ผู้นำจริยธรรม และผู้นำใฝ่บริการ เป็นแนวทางการบริหารจัดการศึกษาประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ ตัวบ่งชี้ ที่มีคุณลักษณะที่ดี โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดทำยกร่างยุทธศาสตร์ มี 3 ขั้นคือขั้นที่1 การศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร ขั้นที่ 2 การศึกษาเชิงสำรวจ และขั้นที่ 3 การศึกษาพหุกรณี ระยะที่ 2 การยกร่างยุทธศาสตร์โดยกลุ่มผู้จัดทำยุทธศาสตร์ระดับเขตพื้นที่/โรงเรียน และระยะที่ 3 การตรวจสอบคุณลักษณะที่ดีของยุทธศาสตร์มี 2 ขั้น คือการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ และการประชาพิจารณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ การประเมินคุณลักษณะที่ดีของยุทธศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญและการประชาพิจารณ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย แบบประเมินยุทธศาสตร์ และแบบสอบถามการประชาพิจารณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ ได้แบ่งออกเป็น 5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยด้านจุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์คือ1)วิสัยทัศน์โดยภาพรวมคือ ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติเพื่อให้บุคลากรทำงานได้บรรลุเป้าหมาย 2)ด้านพันธกิจโดยภาพรวมคือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วนแนวทางของยุทธศาสตร์ แยกตามยุทธศาสตร์ 5 ด้านมีดังต่อไปนี้ ด้านบริหารโดยภาพรวมมี 2 เป้าหมาย 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ 21 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารวิชาการมี 4 เป้าหมาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ 26 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารงบประมาณมี 3 เป้าหมาย 7 ประเด็นยุทธศาสตร์ 18 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารงานบุคคลมี 4 เป้าหมาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ 10 ตัวบ่งชี้ และด้านการบริหารงานทั่วไปมี 4 เป้าหมาย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 18 ตัวบ่งชี้
2. ผลการตรวจสอบคุณลักษณะที่ดีของข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์คือ ด้านการบริหารโดยภาพรวม ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป พบว่าความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก ส่วนผลการประชาพิจารณ์พบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ร้อยละ 98.3
The objectives of this research were to study and create proposals for strategic administration through the employment of educational leadership, such as change leadership, academic leaders, ethical leaders, and servant leaders to be used as guidelines for academic administratin which included visions, missions, goals, strategic issues, and good featured indicators. The development process was divided into three phases: Phase I was related to examine the fundamental data in order to draft the proposed strategies which consisted of three stages as follows: Stage I documents enquiries, Stage II an exploratory study, and Stage III multiple cases investigation. Phase 2 was related to the drafting of proposed strategies by a group of strategic makers at a region/school level, and Phase III was the monitoring on good features of strategies which in turn consisted of two stages as follows: an expert assessment, and a public hearing of stakeholders. Data collection was made through interviews. The assessment on good features of strategies by experts and the public hearing of stakeholders. Data collection tools included in-depth interview, a questionnair, strategic assessment, and a public hearing questionnaire. The statistics used for data analysis were Percentage, Mean and Standard Deviation.
The results were as follows:
1. The strategic proposal was divided into five strategies consisting of the aims of the strategy which were: 1) the overall vision - school administrators were strongly committed to academic management by fully exploiting ability to change beliefs and attitudes in order for its personnel to work and achieve the goals and 2) the overall mission was to promote and support school administrators to become leaders of change. For guidelines of strategy, these were separated based on five strategic aspects as follows: administration, by overall, consisted of two goals, two strategic issues and twenty one indicators, academic administration consisted of four goals, four strategic issues and twenty six indicators, budget management consisted of three goals, seven strategic issues and eighteen indicators, personnel management consisted of four goals, four strategic issues and ten indicators and finally general administration consisted of four goals, five strategies and 18 indicators respectively.
2. The results from monitoring the good features of strategic proposal on the following five strategies: the administration as a whole, the academic administration, the budget administration, the personnel management and the general administrative, had revealed that their suitability, consistency, feasibility and helpfulness were all at a high level. For public hearing, the stakeholders had agreed with the proposed strategies by 98.3 percent.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 119.03 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 159.99 KB |
3 | บทคัดย่อ | 210.47 KB |
4 | สารบัญ | 425.14 KB |
5 | บทที่ 1 | 269.56 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,819.88 KB |
7 | บทที่ 3 | 333.57 KB |
8 | บทที่ 4 | 3,302.52 KB |
9 | บทที่ 5 | 367.92 KB |
10 | บรรณานุกรม | 583.55 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 1,164.28 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 856.49 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 262.20 KB |
14 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 143.01 KB |