ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของทีมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Linear Structural Relationship Model of Quality Teams Affecting Primary School Effectiveness in the Northeast under the Office of the Basic Education Commission
ผู้จัดทำ
วราภรณ์ ชาเรืองเดช รหัส 55632233102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของทีมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูล เชิงประจักษ์ และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของทีมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา การดาเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างกรอบแนวคิด ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น 3 แห่ง ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมุติฐาน การวิจัย ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอานาจจำแนกระหว่าง 0.50 – 0.78 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557 จานวน 330 โรง ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสาเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรม LISREL for Windows v.8.52 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของทีมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่สร้างข้นึ ประกอบด้วย บริบทขององค์การ ลักษณะของงาน คุณลักษณะของทีมกระบวนการทางานของทีม และประสิทธิผลโรงเรียน

2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืน (Chi-Square=38.34, df=100, P-value=1.0000,
RMSEA=0.000, GFI=0.99, AGFI=0.97 Largest Standardized Residual = 1.66) ค่าอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาจากมากไปหาน้อย เป็นดังนี้ อิทธิพลทางตรง ได้แก่ กระบวนการทางานของทีม ลักษณะของงาน และคุณลักษณะของทีม อิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ บริบทขององค์การ ลักษณะของงานและคุณลักษณะของทีม โดยส่งผ่านกระบวนการทางานของทีม อิทธิพลรวม ได้แก่ กระบวนการทางานของทีม คุณลักษณะของทีม บริบทองค์การ และลักษณะของงานโดยทั้ง 4 องค์ประกอบดังกล่าวข้างต้น สามารถอธิบายประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาได้ร้อยละ 88

Abstract

This study was conducted with the following purposes: 1) to create a linear structural relationship model of quality teams affecting primary school effectiveness in the Northeast under the Office of the Basic Education Commission, and 2) to investigate goodness of fit of the created linear structural relationship model with the empirical data. The study was divided into two phases. Phase 1 was to construct the research conceptual framework from analyzing the related documents and research studies, interviewing the experts and specialists, and exploring three outstanding primary schools. Phase 2 was to
test the research hypotheses by collecting the data from the rating scale questionnaire which had its discrimination value between 0.50 – 0.78 and its reliability of 0.99. The subjects were 330 school, obtained through multi-stage random sampling technique, in the Northeast under the Office of the Basic Education Commission in the 2014 academic year. The data was analyzed by computer software to find its frequency, percentage, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient. LISREL program version 8.52 was also employed to analyze the confirmatory factors and to test goodness
of fit of the created model with the empirical data.

The study results found that: 

1. The created model comprised five components; organizational context, task characteristics, team characteristics, team process, and school effectiveness.

2. The test goodness of fit between the created linear structural relationship model and the empirical data showed their harmony which could be unveiled by these statistics: Chi-Square=38.34, df =100, P-value=1.0000, RMSEA=0.000, GFI=0.99, AGFI=0.97 Largest Standardized Residual = 1.66. The components impacting on direct, indirect and total effect toward the school’s effectiveness were raniced from high to low as follows: Direct effects were team process, task characteristics, and team characteristics. Indirect effects were organizational context, task characteristics, and team process. The total effects were team process, team characteristics, organizational context and task characteristics. There four components were able to explain the school effectiveness (88 percent).

คำสำคัญ
รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น, ทีมคุณภาพ, ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Linear structural relationship model, Quality Teams, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 190.39 KB
2 ประกาศคุณูปการ 71.70 KB
3 บทคัดย่อ 126.01 KB
4 สารบัญ 366.04 KB
5 บทที่ 1 523.96 KB
6 บทที่ 2 3,532.85 KB
7 บทที่ 3 410.16 KB
8 บทที่ 4 2,120.56 KB
9 บทที่ 5 417.63 KB
10 บรรณานุกรม 265.43 KB
11 ภาคผนวก ก 2,386.41 KB
12 ภาคผนวก ข 169.29 KB
13 ภาคผนวก ค 498.53 KB
14 ภาคผนวก ง 243.54 KB
15 ภาคผนวก จ 8,216.69 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 162.02 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 พฤษภาคม 2562 - 11:49:52
View 765 ครั้ง


^